เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5

Go down

ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5 Empty ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5

ตั้งหัวข้อ by Profile Fri Dec 05, 2014 9:14 pm

ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5

 

 
ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5 Thumb-EE9D_5481CACD
 

 

1.ชีวะประวัติของอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ

 

 

 

...อบูฮะนีฟะฮฺมีนามเต็มว่า อันนุอฺมาน อิบนฺ ษาบิต อิบนฺ อัลมัรซะบาน ซึ่งตระกูลของท่านมีเชื้อสายมาจากชาวเปอร์เซีย ตามพจนานุกรมภาษาอาหรับคำว่า อัล มัรซะบาน ไม่ใช่ภาษาอาหรับ แต่เป็นภาษาเปอร์เซีย ซึ่งมีความหมายว่า ผู้นำ

 

 

 

....อบูฮะนีฟะฮฺเกิดที่นคร กูฟะฮ์ ประเทศ อิรัก เมื่อปี ฮิจเราะฮ์ศักราช ที่ 80 ตรงกับคิริสศักราชที่ 699 นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่าท่านเกิดที่เมืองอัมบาร แต่ส่วนใหญ่กล่าวว่าท่าน เกิดที่นคร กูฟะฮฺ ส่วนบิดาของท่านนั้นมีนามว่า ษาบิต อิบนุ ซุตอ

 

 

 

การประกอบอาชีพ

 

 

 

...ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่าบิดาของท่านอบูฮะนีฟะฮฺเป็นพ่อค้า เนื่องจากบิดาของท่านประกอบอาชีพค้าขาย อาชีพนี้จึงตกทอดมาถึงลูกหลาน ท่านอบูฮะนีฟะฮฺได้สานต่ออาชีพนี้จากบิดาของท่านเอง โดยบิดาของท่านมีร้านค้าขายผ้าเป็นของตนเองตั้งอยู่ที่เมืองกูฟะฮ์ ท่านเป็นพ่อค้าที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ท่านประกอบอาชีพอย่างซื่อสัตย์ไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า หากสินค้าที่ท่านจะขายมีตำหนิ ท่านก็บอกให้ลูกค้าท่านทราบทุกครั้ง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อบูฮะนีฟะฮฺได้รับการยกย่องและเชื่อถือจากบรรดาประชาชนทั่วไปและบรรดานักธุรกิจต่าง ๆในยุคของท่านเป็นอย่างมาก

 

 

 

การศึกษา

 

 

 

.........อบูฮะนีฟะฮฺเป็นผู้ที่เฉลียวฉลาด มีความสามารถสูงที่จะศึกษาเกี่ยวกับความรู้ในด้านศาสนา ท่านได้มุ่งมั่นในการศึกษาตามความปรารถนาของท่าน แต่ในช่วงแรกๆ ท่านได้ทุ่มเทเวลาในการค้าขายอย่างเดียวโดยไม่ได้มุ่งมั่นอย่างเต็มที่กับการศึกษา ด้วยความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ท่านอบูฮะนีฟะฮฺได้หันหน้ามาศึกษาวิชาเกี่ยวกับศาสนา ท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆ เช่น นะฮู(หลักภาษาอาหรับ) นิติศาสตร์อิสลาม ที่รู้จักกันทั่วไปว่าวิชาฟิกฮฺ

 

 

 

.........ในการแสดงความคิดเห็นท่านอบูฮะนีฟะฮฺจะใช้เหตุผลเป็นหลัก ท่านได้ศึกษาวิชาฟิกฮฺจนท่านมีความชำนาญและเชี่ยวชาญในด้านนี้มาก ท่านชอบศึกษาค้นคว้าและแสวงหาวิชาความรู้ ท่านมักจะแสดงทัศนะของท่านเองประกอบการศึกษา ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเป็นที่ยอมรับของสังคมและเป็นที่เลื่องลือในคุณวุฒิด้านนี้จนถึงทุกวันนี้

 

 

 

ครูบาอาจารย์

 

 

 

.........อบูฮะนีฟะฮฺ มีฐานะเป็นตาบีอีนคนหนึ่งที่มีโอกาสร่วมสมัยกับเศาะหาบะฮฺบางคน เมื่อท่านเกิดมามีเศาะฮาบะฮฺ ที่ยังมีชีวิตอยู่ 4 ท่าน ตามที่นักประวัติศาสตร์ได้บึกทึกไว้ คือ อนัส อิบนฺ มาลิก อับดุลลอฮ อิบนฺ อบีเอาฟ์ ไซดฺ อิบนฺ สะอัด แต่ท่านอะบูฮะนีฟะฮฺ มิได้มีโอกาสศึกษากับเศาะฮาบะฮฺทั้ง 4 โดยตรงเนื่องจากเศาะฮาบะฮฺทั้งสีได้เสียชีวิตตั้งแต่อบูฮะนีฟะฮฺยังเยาว์ ถึงแม้อบูฮะนีฟะฮไม่ได้ศึกษาโดยตรงจากบรรดาเศาะฮาบะฮฺเหล่านั้นแต่ได้ศึกษามาจากอาจารย์ที่ศึกษามาจากเศาะฮาบะฮทั้ง 4 ดังที่อบูฮะนีฟะฮฺได้กล่าวยื่นยันด้วยตนเอง กล่าวคือ ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ท่านอบูฮะนีฟะฮฺได้เข้าเฝ้าญะอฟัรอัลมันซูรและอิซา อิบนฺ มูซาได้เข้าเฝ้าอยู่ที่นั้นด้วย และท่าน ได้ทูลคอลีฟะฮฺว่า อบูฮะนีฟะฮฺท่านนี้เป็นผู้ทรงความรู้ยิ่งในโลกปัจจุบัน คอลีฟะฮฺก็ได้ถามว่า โอ้นุอฺมาน ท่านได้รับความรู้มาจากที่ใด? ท่านอบูฮะนีฟะฮฺทูลว่า ? จากพรรคพวกของอุมัรซึ่งได้รับความรู้จาก อุมัร เเละ พรรคพวกของอะลีย์ที่ได้รับความรู้จากพรรกพวกของ อะลี และจากพรรคพวกของอับดุลลอฮฺ อิบนฺ อับบาส ที่ได้รับความรู้จาก อับดุลลอฮฺ อิบนุอับบาส คอลีฟะฮฺอัลมันซูร จึงกล่าวด้วยความประหลาดใจว่า ? ท่านได้สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้แก่ตัวท่านเองแล้ว ?

 

 

 

..นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ท่านอบูฮะนีฟะฮฺยังมีครูบาอาจารย์อีกหลายท่าน เช่น ฮัมมาด อิบนฺ อบีสุไลมาน, ไซดฺ อิบนฺ อะลีย์ ซัยนุลอาบีดีน , ญะอฟัร อัศศอดิก และอื่นๆ

 

 

 

...อบูฮะนีฟะฮฺได้ศึกษากฎหมายอิสลามและอัลหะดีษจาก ฮัมมาด อิบนฺ อบีสุไลมาน ท่านได้ใช้เวลาในการศึกษากับอาจารย์ท่านผู้นี้นานกว่าครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆคือท่าน ศึกษาอยู่ตั้งแต่ท่านมีอายุ 22 ปี จนถึงท่านมีอายุ 40 ปี และท่านจึงได้ทำการถ่ายทอดวิชาความรู้ที่ท่านได้รับมาด้วยวิธีการสอนอยู่ในมัสยิดแห่งหนึ่งในนครกูฟะฮฺเป็นประจำ

 

 

 

สานุศิษย์

 

 

 

.........อิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีความสามารถในวิชาการแขนงต่างๆ ดังนั้นอบูฮะนีฟะฮฺจึงมีสานุศิษย์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในบรรดาวงการวิชาการหลายท่านเช่น

 

 

 

 1. อิบรอฮีม อิบนฺ อิบรอฮีม อัลอันซอรี อัลกูฟี

 

 

 

 2. อบูอับดุลลอฮฺ มุฮัมมัด อิบนฺ อัลฮะซัน อัซชัยบานีย์

 

 

 

 3.  ซัฟร์ อิบนฺ อัลฮะซีล

 

 

 

 4.  ฮะซัน อิบนฺซัยยาด อัลลุลุอัย อัลกูฟีย์

 

 

 

การทรมานท่านอิหม่าม

 

 

 

.........อิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺดำรงชีวิตอยู่ใน 2 ยุค สมัยของราชวงค์อัลอุมะวีย์ และสมัยของ ราชวงค์อัลอับบาซีย์ เมื่อยะซีด อิบนฺ อุมัรในสมัยของราชวงค์อัลอุมะวีย์ขึ้นปกครองอิรัก ท่านได้เสนอให้อบูฮะนีฟะฮฺทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาแห่งนครกูฟะฮฺ แต่ท่านอบูฮะนีฟะฮฺปฏิเสธที่จะรับข้อเสนอดังกล่าว อันเนื่องมาจากท่านไม่พอใจต่อการปกครองของราชวงค์นี้ ผลการปฏิเสธดังกล่าวทำให้ยะซีดได้สั่งให้ลงโทษท่านโดยการทรมานท่านอิหม่ามด้วยการเฆี่ยนตีด้วยแซ่วันละ 10 ครั้ง จนครบ 110 ครั้ง ถึงแม้ว่าท่านอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺถูกเฆี่ยนตีท่านก็ยังปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งดังกล่าวที่คอลีฟะฮฺได้เสนอให้ท่าน จนกระทั่งในเวลาต่อมายะซีดก็ให้ปล่อยตัวท่านให้เป็นอิสระ หลังจากนั้นไม่นานนักยะซีดมีปรารถนาให้ท่านดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในสำนักหรือในการปกครองของตนให้ได้ จึงเสนอให้ท่านรับตำแหน่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบกองทุนทรัพย์สิน แต่อบูนีฟะฮฺก็ปฏิเสธอีก และท่านเห็นว่าหากท่านดำรงชีวิตอยู่ในอิรักต่อไป ท่านคงไม่มีความปลอดภัย ท่านก็เลยตัดสินใจอพยพไปสู่นครมักกะฮฺ เพื่อทำการสอนที่นั้น วิชาที่ท่านสอนก็คือวิชาหะดีษและวิชาฟิกฮฺ โดยท่านได้ใช้เวลาในการเผยแผ่วิชาความรู้ที่นั้นเป็นเวลา 6 ปี ด้วยกัน

 

 

 

.........เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในอิรัก อำนาจการปกครองได้เปลี่ยนจากราชวงค์อัลอุมะวีย์เป็นราชวงค์อัลอับบาซีย์ คอลีฟะฮฺองค์ใหม่ที่ขึ้นครองอำนาจคือ อบูญะฟัร อัลมันซูร คอลีฟะฮฺอบูยะฟัร ก็พยายามให้ท่านระบายความรู้สึกต่างๆ อบูฮะนีฟะฮฺ ก็ได้แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นของท่านในการปกครองของคอลีฟะฮฺองค์นี้โดยท่านได้วิพากษ์วิจารณ์งานบริหารด้านต่างๆ การแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมาของอบูฮะนีฟะฮฺ สร้างความไม่พอใจแก่คอลีฟะฮฺอบูญะฟัรเป็นอย่างมาก ในที่สุดคอลีฟะฮฺอบูญะฟัรก็ได้ใช้วิธีเดียวกันกับคอลีฟะฮฺในราชวงค์ก่อน โดยได้นําตัวอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺจากนครกูฟะฮฺไปยังนครแบกแดดแล้วเสนอตำแหน่งผู้พิพากษาให้แต่ท่านปฏิเสธ ด้วยเหตุดัวกล่าว คอลีฟะฮฺอบูญะฟัรทรงสั่งให้ลงโทษอบูฮะนีฟะฮฺด้วยการคุมขังท่านไว้โดยไม่มีกำหนดจนกระทั้งสิ้นชีพ

 

 

 

อบูฮะนีฟะฮฺเป็นอุลามาอฺที่ปฏิบัติภักดี ( อิบาดะฮฺ ) อย่างเคร่งครัด

 

...อบูฮะนีฟะฮฺเป็นอุลามาอฺที่ปฏิบัติภักดี ( อิบาดะฮฺ ) อย่างเคร่งครัด และเลือกปฏิบัติในสิ่งที่มีหลักฐานที่ชัดเจน ถึงแม้ว่าอิบาดะฮฺบางประเภทนั้นคนส่วนใหญ่ไม่ปฏิบัติก็ตาม เนื่องด้วยความเกรงกลัวต่อผู้นำในยุคนั้นจะลงโทษด้วยการทรมาน แต่อบูฮะนีฟะฮฺกลับปฏิบัติโดยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจใดๆทั้งสิ้น ท่านใช้เวลากลางคืนในการละหมาดตะฮัจญูด และอ่านอัลกุรอานและท่านจะหลับนอนเพียงเล็กน้อย ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าอิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺละหมาดซุบฮฺด้วยน้ำละหมาดอิซาอฺโดยที่ท่านไม่จำเป็นที่จะต้องอาบน้ำละหมาดอีกครั้ง นั้นแสดงให้รู้ว่าอบูฮะนีฟะฮฺไม่ได้นอนโดยท่านใช้เวลาทั้งคืนในการทำอีบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ซุบหานาฮูวาตาอาลา

 

 

 

อิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺเสียชีวิต

 

 

 

.....ความตายเป็นสิ่งที่ทุกชีวิตจะต้องเผชิญเมื่อถึงเวลาที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้ก็ต้องกลับไปสู่อัลลอฮฺ ( ซ . บ. )

 

 

 

..อิหม่ามอบูฮะนีฟะฮฺเสียชีวิต เมื่อปี ฮ . ศ . 150 ท่านมีอายุ 70 ปี ผู้ที่ทำหน้าที่อาบน้ำญานาซะฮฺของท่านคือ ฮะซัน อิบนฺ อัมมาเราะฮฺและศพของท่านได้รับการฝังที่สุสาน อัลคอยซะรอนซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของนครแบกแดกประเทศอิรัก


แก้ไขล่าสุดโดย Profile เมื่อ Fri Dec 05, 2014 10:13 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5 Empty Re: ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5

ตั้งหัวข้อ by Profile Fri Dec 05, 2014 9:17 pm

ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5 ImamMalik
2 .ชีวะประวัติของอิหม่ามมาลิก

 

 

 

                     อิหม่ามมาลิกมีนามเต็มว่าอบูอับดุลลอฮฺ มาลิก อิบนฺ อนัส อิบนฺ อบีอามิร อัลอัสบาฮีย์ ท่านเกิดที่นครมาดีนะฮฺแต่ประวัติศาสตร์ไม่ได้ระบุวันเดือนปีสถานที่เกิดของอิหม่ามอย่างชัดเจนแต่บางรายงานระบุว่าท่านเกิด ระหว่างปี ฮ . ศ .90/ ค . ศ 708 และ ฮ . ศ . 97/ ค . ศ . 715 ประวัติได้บัทึกไว้หลายรายงายด้วยกันเช่น

 

 

 

.........อุลมาอฺ บางท่านกล่าวว่า ท่านเกิดที่นครมาดีนะฮฺ ฮ . ศ . 43 บางท่านกล่าวว่าท่านเกิดที่ ซูลมัรวะฮทางเหนือของนครมาดีนะฮฺ

 

 

 

.........และยังมีการบันทึกอีกว่าท่านเกิดเมื่อ ฮ . ศ .45 แต่บันทึกที่น่ารับได้และอุลามาอฺส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันก็คือ ท่านเกิดเมื่อ ฮ . ศ .43 ณ ซูลมัรวะฮฺทางภาคเหนือของนครมาดีนะฮประเทศซาอุดีอาระเบียปัจจุบัน

 

 

 

การศึกษา

 

.........อิหม่ามมาลิกเริ่มการศึกษาด้วยการท่องจำอัลกุรอาน หลังจากนั้นก็เริ่มท่องจำหะดีษของท่านนบี (ซ.ล.) หากเราอ่านประวัติศาสตร์ของบุคคลสำคัญในอิสลามเราได้เห็นว่าเศาะฮาบะฮฺ ตาบีอีนหรืออูลามาอฺที่สำคัญท่านอืนๆ บุคคลเหล่านั้นเริ่มการศึกษาด้วยการท่องจำอัลกุรอานและหะดีษเป็นการเริ่มต้นด้วยสิ่งที่เป็นศิริมงคลและบารอกะฮฺนั้นเอง

 

 

 

.........ท่านได้ศึกษาวิชาอัลหะดีษและวิชากฎหมายอิสลาม ท่านเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญและระมัดระวังในเรื่องของหะดีษเป็นอย่างสูงในการที่จะรับหะดีษท่านจะ พิจารณาอย่างละเอียดทองแท้ทั้งในด้านตัวบทหะดีษและผู้รายงานหะดีษนั้นๆ

 

 

 

ครูบาอาจารย์

 

 

 

...อิหม่าม นะวะวีย์ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ตะหซีนุลอัสมาอ์วัลอัลกอบ ว่า อิหม่ามมาลิกได้ศึกษากับคณาจารย์รวมทั้งสิ้น 900 ท่านในจำนวนนี้เป็นบุคคลที่อยู่ในสมัยตาบิอิน 300 ท่าน และเป็นตาบีอีตตาบีอีน 600 ท่าน อาจารย์ที่อิหม่ามมาลิกได้ศึกษาอยู่กับท่านนานที่สุดคือ อับดุรเราะห์มาน อิบนฺ หุรมุก อัลอะอฺรอจซึ่งอิหม่ามาลิกใช้เวลาในการศึกษานานถึง 7 ปี

 

 

 

สานุศิษย์

 

 

 

.........อิหม่ามมาลิกได้ใช้ชีวิตที่นครมาดีนะฮฺเป็นเวลานานพอสมควรและได้ทำการสอนหนังสือที่นั้น ดังนั้นคงไม่แปลกที่อิหม่าม มาลิกมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก เพราะที่มัสยิดและสุสานของของท่านนบี(ซ.ล.) ตั้งอยู่ที่นครมาดีนะฮฺแห่งนี้ บรรดาผู้ที่มาประกอบพิธีฮัจญ์ อุมเราะห์และเยี่ยมเยียนสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เขาเหล่านั้นจะฉวยโอกาสศึกษากับอิหม่ามมาลิก สานุศิษย์คนสำคัญๆของท่านอาทิ อับดุลลอฮฺ อิบนฺวะฮบ์ อับดุลเราะห์มานอิบนฺ กอซิม อัซอับ อิบนฺ อับดุลอาซีซ และในจํานวนบรรดาศิษย์ของอิหม่ามมาลิกที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คืออิหม่ามซาฟีอีย์ซึ่งเป็นบุคคลที่มนุษย์ชาติรุ่นหลังๆ ให้การยอมรับโดยเฉพาะในโลกมุสลิม

 

 

 

การทรมานท่านอิหม่าม

 

 

 

.........ท่านอิหม่ามมาลิกได้รับถูกทรมานอย่างหนักในสมัยของคอลีฟะฮอบูญะฟัร อัลมันซูรแห่งราชวงค์ อัลอับบาซีย์ สาเหตุที่ท่านถูกทรมานนั้นมีหลายบันทึกด้วยกันกล่าวคือ

 

 

 

.........1. สาเหตุที่อิหม่ามมาลิกถูกทรมาน คือ ได้มีประชาชนจำนวนหนึ่งมาถามท่านอิหม่ามมาลิกโดยให้ท่านชี้ขาดในกรณีที่พวกเขาต่อต้านคอลีฟะห์อัลมันซูรที่ได้ใช้อำนาจ บังคับพวกเขาทั้งนี้โดยมีมุฮัมมัด อิบนฺ อบีอับดิลลาฮเป็นหัวหน้าในการต่อต้านอิหม่ามมาลิกได้ให้ความเห็นว่า? แท้จริงท่านทั้งหลายได้ถูกบังคับให้สนับสนุนคอลีฟะฮฺ ? และท่านได้นำหะดีษซึ่งความว่า ? ไม่มีคำปฏิญาณต่อผู้บังคับ มาอ้างเป็นเหตุผล โดยท่านให้เหตุผลว่าเมื่อเราถูกบังคับให้สนับสนุน เราก็มีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามบังคับบัญชาของผู้นํา คำอธิบายของท่านอิหม่าม มาลิกจึงทำให้ประชาชนเหล่านั้น ให้การสนับสนุนมุฮัมมัด อิบนฺ อบีอับดิลลาฮฺในการต่อต้านคอลิฟะฮฺ และได้มีผู้รายงานต่อคอลีฟะฮฺอัลมันซูร ว่าท่านอิหม่ามมาลิกไม่สนับสนุนการเป็นคอลีฟะฮฺของพระองค์ ส่งผลให้ คอลีฟะฮฺโกรธท่านอิหม่ามเป็นอย่างมาก คอลีฟะฮฺจึงได้ทรงบัญชาให้ลงโทษท่านอิหม่ามด้วยการเฆี่ยนตี

 

 

 

.........2. สาเหตุแห่งการทําทรมานเกิดจากการที่ท่านอิหม่ามได้บันทึกหะดีษที่ว่า ผู้ถูกบังคับนั้น ไม่ทำให้การกล่าวหาอย่าร้างภรรยา ของเขามีผล แต่คอลีฟะฮฺอัลมันซูรไม่ปราถนาให้หะดีษนั้นถูกบันทึกไว้เนื่องจากเกรงว่าประชาชนจะไม่ให้การสนับสนุนคอลีฟะฮฺ หากประชาชนได้รับหะดีษบทนี้เพราะหะดีษดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้ในการอ้างอิงอาจจะทำให้คอลีฟะฮมีผู้สนับสนุนน้อยลง อิหม่ามมาลิกเป็นอุลามาอฺที่ตรงไปตรงมาท่านยืนหยัดและปราถนาที่จะให้หะดีษนี้ถูกบันทึกไว้ ทำให้คอลีฟะฮฺไม่สบายใจจึงต้องตัดสินลงโทษอิหม่ามมาลิกด้วยการทรมานโดยหวังว่าอิหม่ามมาลิกจะยอมให้การสนับสนุนพระองค หรือคอลีฟะฮฺ

 

 

 

.........มีอีกหลายรายงานที่บ่งบอกเกี่ยวกับการทรมานท่านอิหม่ามมาลิกที่มีผู้เขียนไม่ได้บันทึกไว้ในที่นี้ หากผู้อ่านคนใดปรารถนาที่จะศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านผู้อ่านสามารถไปอ่านหนังสือ ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการทรมานท่านอิหม่ามมาลิก

 

 

 

การเสียชีวิตท่านอิหม่ามมาลิก

 

 

 

 .........ความตายนั้นเป็นอนาคตของทุกคนที่จะต้องเผชิญ อิหม่ามมาลิกก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเสมือนมนุษย์ทั่วไปที่จะต้องกลับสู่เอกองค์อัลลลอฮฺ ( ซ . บ. ) ท่านสิ้นชีพเมื่อ วันที่ 14 รอบีเอาวัล ฮ . ศ . 179 อายุของท่าน 83 ปี และศพของท่านได้ถูกฝังไว้ที่สุสานอัลบากิอฺใกล้กับมัสยิดของท่านนบี ( ซ . ล. ) ในนครมาดีนะฮฺ[/color][/color]

 

        
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5 Empty Re: ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5

ตั้งหัวข้อ by Profile Fri Dec 05, 2014 9:28 pm

ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5 Images?q=tbn:ANd9GcRJWZPuoSvGZU6hCEQuD_0d50rbAX0lPJfMVYTzYgFUrGJS64DQ


3 ชีวะประวัติของอิหม่ามซาฟีอี

 

        

 

ท่านอิหม่ามซาฟีอีมีนามแฝงว่า ท่านอาบูอับดุลเลาะห์ เกิดเดือนรอฮับ ปีที่ 160 ฮิจเราะห์ศักราชตรงกับปีที่ 767 มีลาดี

 

 

 

บิดาของท่านอิหม่ามเป็นชาวฮิยาดและยากจน เพราะเหตุนี้จึงได้อพยพจากนครมักกะห์สู่ประเทศชามและได้พักใช้ชีวิตอยู่ที่มณฑลฆุซซะห์ และมณฑลอัสกอลานี ซึ่งอยู่ในประเทศปาเลสไตย์ปัจจุบัน และต่อมาบิดาของท่านอิหม่ามได้ถึงแก่กรรมในขณะที่ท่านอิหม่ามซาฟีอีมีอายุได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

 

 

 

สืบเชื่อสายจากทางบิดา

 

 

 

มูฮำหมัด บุตรของท่านอิดริส อิดริสบุตรอับบาซ อับบาซบุตรอุสมาน อุสมานบุตรชาเฟียด์ ซาเฟียอ์บุตรซาอิบ ซาอิบบุตรอับดุยาซีด อับดุยาซีดบุตรฮาซิม ฮาซิมบุตรมุตตอลิบ มุตตอลิบบุตรอัลดิมานาฟ

 

 

 

สืบเชื้อสายจากสามมารดา

 

 

 

มารดาอิหม่ามสืบเชื้อสายจากตระกูลอาซัด ซึ่งถือเป็นวงค์กระกูลที่มีเกียรติและประเสริฐ ที่ท่านร่อซู้ลลัลเลาะห์ได้ทรงรับรองไว้ว่า อัลอาซัด อัสดุลเลาะห์ การที่ท่านร่อซู้ลได้ฝากอัลอาซัดไปยังคำว่า อัลเลาะห์ ณ ที่นี้นั้น เปรียบได้ดังคำว่า บับตุ้ลเลาะห์ และ นาก่อตุ้ลเลาะห์

 

 

 

ภรรยาของอิหม่ามซาฟีอี

 

 

 

อิหม่ามได้ทำการสมรสกับพระนางฮามีดะห์ บุตรสาวของท่านนาเฟียอ์ หลานสาวของท่านอุสมาน บุตรท่านอัฟฟาน หลังจากที่ท่านอิหม่ามมาเล็ก ได้สิ้นพระชนม์แล้ว ( ถึงแก่กรรม) อายุของท่านอิหม่ามได้ 30 ปี โดยประมาณ

 

 

 

บุตรของอิหม่ามที่สืบเชื้อสายจากตระกูลอุสมาน บุตรท่านอัฟฟานได้แก่ อาบูอุสมาน มูฮำหมัด

 

 

 

ส่วนบุตรสาว ได้แก่ ฟาตีมะห์และไซหนับ หากแต่ขณะอาบูอุสมาน มูฮำหมัด นั้น มีตำแหน่งที่สูง เป็นถูงผู้พิพากษาของแคว้นฮาลิบ และอิหม่ามซาฟีอีได้มีลูกชายอีกคนหนึ่งกับภรรยาคนที่สอง ชื่อ ฮาซัน บุตรมูฮำหมัด บุตรอิดริส แต่ฮาซันได้เสียชีวิตขณะยังเด็กอยู่

 

 

 

เอกลักษณ์ประจำตัวที่เด่นชัดของอิหม่าม อิหม่ามซาฟีอีเป็นชายที่สูงใหญ่ มีมารยาทดีเลิศ และท่านเป็นคนรักเพื่อนฝูงและครอบครัว คนรอบข้าง เสื้อผ้าที่สวมใส่สะอาดหมดจด พูดจาฉะฉาน ชอบสร้างความดีต่อเพื่อนบ้าน ชอบย้อมผมสีแดง อ่านกุรอ่านเสียงไพเราะรื่นหู ทั้ง ๆ ที่อายุขณะนั้นท่านมีอายุเพียงแค่ 13 ปีเท่านั้น นักวิชาการ นักปราชญ์ บรรดาอุลามาเหล่านั้นต้องการที่จะหลั่งน้ำตาอันเนื่องมาจากการยำเกรงอัลเลาะฮ์ ก็จึงมีการรวมตัวกันแล้วเอ่ยขึ้นว่า พวกเราทุก ๆ เราไปเถิด ไปหาเด็กคนนั้นเถิด หมายถึง อิหม่ามซาฟีอี เพื่อเราจะได้รับฟังการอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านจากเขา และจะเป็นเหตุให้พวกเราหลั่งน้ำตาเพราะเหตุการฟังการอ่านของเด็กผู้นั้น เมื่อพวกเขาเหล่านั้นได้เดินทางมาถึงที่หมายและได้สดับรับฟังการอ่านและได้ยินเสียงอันไพเราะของอิหม่าม น้ำตาของบุคคลเหล่านั้นก็ได้ไหลล้นเอ่อเต็มหน้าตักของพวกเขาเหล่านั้น อิหม่ามซาฟีอีเมื่อมองเห็นสภาพเช่นนั้นก็จึงหยุดอ่านกุรอ่านเนื่องจากมีความสงสารบุคคลเหล่านั้น

 

 

 

ในขณะที่อิหม่ามมีอายุได้ 2 ขวบ มารดาของท่านได้พาอิหม่ามออกเดินทางสู่นครมักกะห์อิมูกัสรอมะห์ มารดาอิหม่ามได้หยุดพักอยู่ที่ และหลังจากนั้นก็มาหยุดพักที่มัสยิดฮารอมที่มีนามว่า ซะอ์มุ้ลคีฟ

 

 

 

เมื่ออิหม่ามซาฟีอีมีความปราดเปรื่อง มีไหวพริบดี มารดาจึงส่งไปเรียนหัดประพันธ์ หากแต่ว่าสภาพคล่องทางการเงินไม่เพียงพอ จึงเลิก พักการเรียนในขณะหนึ่ง อันเนื่องจากมวลเหตุการบกพร่องดังกล่าวมา จึงเป็นสาเหตุให้ท่านอิหม่ามมีความมุ่งมั่นมานะพยายามศึกษาเล่าเรียนอย่างสุดความสามารถในการศึกษาเล่าเรียน และทำตัวให้ใกล้ชิดต่อคณาจารย์ให้มากที่สุด เพื่อจะได้คำสั่งสอนที่มีน้อยนักที่เด็กวัยเพียงเท่านี้จะสามารถทำได้ ในขณะที่อาจารย์ไม่อยู่ อิหม่ามก็ยังคงทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องเหมือนกับอาจารย์ปรากฏตัวอยู่ การปฏิบัติดังกล่าวนั้นจึงทำให้อิหม่ามมีความแตกฉานและด้านวิชาการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งนักเรียนที่เรียนอยู่ด้วยกันมีความรักท่านและศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่าน และเชื่อฟังคำพูดของท่าน เมื่ออิหม่ามมีอายุได้ 7 ปี หรือ 9 ปี ท่านมีความสามารถในการท่องจำกุรอ่านได้หมดทั้งเล่ม หลังจากนั้นท่านได้เข้าศึกษาที่มัสยิดอัลฮารอม ท่านก็ได้มุ่งมั่นทำการศึกษาด้านภาษา วิชาสาขาทุกแขนง จนกระทั่งมีความปราดเปรื่องด้านภาษาอาหรับ เป็นเพราะเหตุที่ได้มารวมกันหลายเผ่าพันธุ์ หลายหมู่เหล่า ที่ได้เข้ามาศึกษาที่มักกะห์ จึงทำ

 

 

 

เริ่มการศึกษา

 

 

 

ให้ท่านได้รับส่วนดีจากการสนิทสนมและรู้จักบุคคลหลายหมู่เหล่าหลายภาษาในขณะนั้น ในด้านความรู้อย่างสมบูรณ์แบบและครบวงจร อาทิ วิชาฝึกฮาดิษ ตับซีร และอุลูมอัลกุรอ่าน

 

 

 

 

 

อาจารย์ของท่านที่นครมาดีนะห์

 

 

 

ท่านอิหม่ามซาฟีอีได้เล่าเรียนกับท่านอิหม่ามมาลิก บุตรท่านอานัส ท่านอิบรอฮีมบุตรท่านซาอัด อัสอัสซอรี ท่านอับดุลอาซีซบุตรท่านมูฮำหมัดอัลตราวัสดี อ่านอิบรอฮีมบุตรท่านอาบียะห์ยาอัลอาซาบี ท่านมูฮำหมัดบุตรท่านซาอีด บุตรชายท่านอาบีฮัดบิก ท่านอับดุลเลาะห์บุตรท่านนาเฟียอ์ อัสซออี

 

 

 

อาจารย์ที่ประเทศเยเมน

 

 

 

ท่านอิหม่ามได้ศึกษาวิชาฝึกฮาดิษจากท่านมูตริฟ บุตรท่านมาซิน ท่านฮีซาม บุตรท่านยูซุฟ ซึ่งท่านเป็นผู้พิพากษาที่ตำบลซอนอาอ์และท่านอุมารบุตรอาบีซาลามะห์ ซึ่งเป็นสาวกของท่านอิหม่ามอาซาดี ท่านยะห์ยาบุตรท่านฮิซานเป็นเพื่อนของท่านลีซบุตรชายซาอัด

 

 

 

อาจารย์ที่ประเทศอิรัก

 

 

 

ได้ศึกษาวิชาอัลฮาดิษ ฟิก อูลูมุ้ลกุรอ่าน จากท่านวาเดียอ์ บุตรชายท่านยัดเราะห์ และท่านอามูอุซามะห์ คือ ฮัมมาด บุตรท่านอุซามะ ซึ่งเป็นเพื่อนของท่านอิสมาอีล บุตรท่านอิลยะห์ อับดุลวาฮาบ บุตรท่านอับดุลมายิด ทั้งหมดนั้นเป็นชาวมัสเราะห์

 

 

 

สรุป

 

 

 

อาจารย์ของท่านอิหม่ามรวมทั้งสิ้น 19 ท่าน

 

 

 

คณาจารย์จากมักกะห์อัลมูกัรรอมะห์ 5 ท่าน

 

 

 

คณาจารย์จากนครมาดีนะห์ 6 ท่าน

 

 

 

คณาจารย์จากเยเมน 4 ท่าน

 

 

 

คณาจารย์จากอิรัก 4 ท่าน

 

 

 

นักเรียนและลูกศิษย์ของท่านอิหม่ามซาฟีอีมีจำนวนมากและที่มีชื่อเสียงอยู่แนวหน้า คือ

 

 

 

อิหม่ามอะหมัดอิบนิฮัมบัล

 

 

 

ท่านฮาซันบุตรมูฮำหมัดอิสซอบบาห์

 

 

 

อัซซะฟารอนี

 

 

 

ท่านฮูเซนอัลการอบีซี

 

 

 

ท่านดาบูซูรเราะห์ หรือ อิบรอฮีม

 

 

 

ท่านอาบูอิบรอฮีม หรือ อิสมาแอล

 

 

 

บุตรยะห์ยาอัลมาซานี

 

 

 

ท่านอาบูมูฮำหมัด หรือ ท่านรอบีอะห์

 

 

 

บุตรสุไลมานอัลยีซี

 

 

 

ท่านอาบูฮัรมาละห์บุตรยะห์ยา

 

 

 

บุตรอับดุลเลาห์อัตตะห์ยีบี

 

 

 

ท่านอาบูบูซุบ หรือ ยูนุส บุตรท่านอับดุลยะอ์ลา

 

 

 

มูฮำหมัดบุตรอับดุลเลาะห์บุตร

 

 

 

อับดุลวาฮิบอัลมิซรี

 

 

 

และท่านสุดท้าย ท่านอับดุลเลาะห์ คือ ซุบีระฮลฮาบีดี

 

 

 

ในวันที่ 28 เดือนเชาวาล ปีที่ 198 ฮิจเราะห์ศักราช

 

 

 

อิหม่ามได้เดินทาางไปประเทศอียิปต์พร้อมกับท่านอับบาซบุตรมูซา ซึ่งเป็นผู้ปกครองประเทศอียิปต์ขณะนั้น จากการแต่งตั้งของมะมูน

 

 

 

ท่านอับบาสมีจุดประสงค์ให้ท่านอิหม่ามพักแรมที่จวนของท่านฐานะแขกผู้มาเยือนและในฐานะนักวิชาการที่มีชื่อเสียงขณะนั้น

 

 

 

อิหม่ามปฏิเสธที่จะพัก แต่ปรารถนาที่จะพักที่บ้านวงศ์ญาติของท่าน เพราะปฏิบัติตามการปฏิบัติของท่านนบีมูฮำหมัดซ้อลลอลเลอฮิอาลัยฮิวาลัสลำ ที่พระองค์ไม่ยอมหยุดพักบ้านใคร นอกจากบนีนัจยาดซึ่งเป็นวงศ์ญาติของท่าน

 

 

 

อิหม่ามซาฟีอีได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม เช่น อัลฮัจยะห์ อัรรีซาละห์ ยามีอัลอิสมิ อัลอุม อิมลาอัสสอฆีร อัลอามาลีอัลกุบรอ อัลบุวัยตี มัสอับของอิหม่ามยึดถือตามอัลกีตามอัสเซ็นนะห์ อัลอิจมาอ์ และอัลดียาส

 

 

 

การถึงแก่อสัญกรรม

 

 

 

อิหม่ามซาฟีอีใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศอียิปต์รวมเวลาถึง 5 ปีกับ 9 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 28 เดือนเชาวาล ปีที่ 198 ถึงปีที่ 204 เดือนรอยับ ท่านเป็นทั้งนักเขียน นักประพันธ์ นักกวี และได้สอนหนังสือนักเรียนนักศึกษา ณ ประเทศแห่งนั้นมาโดยตลอด

 

 

 

ต่อมาท่านได้ล้มป่วยโดยมีเลือดกำเดาไหล เหตุมาจากเป็นโรคริดสีดวงทวาร จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถออกมาทำการสอนหนังสือแก่นักศึกษาและประชาชนได้ ขณะนั้นท่านมาซาห์ซึ่งเป็นคนหนึ่งในจำนวนลูกศิษย์ของท่านและเอ่ยปากถามท่านอิหม่ามว่า ท่านสบายดีหรือ ท่านอิหม่ามตอบว่า ดี แต่ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าหากฉันสิ้นอายุไปแล้ว ดวงวิญญาณของฉันจะถูกนำไปสวรรค์อันพึงพอใจหรือไปนรกที่ต้องเสียใจ ขณะนั้นท่านก็ได้เพ่งเล็งไปดูผู้ที่อยู่รอบข้างท่านและวงศ์ญาติของท่าน และครอบครัวของท่านว่า เมื่อฉันได้จากโลกนี้ไปแล้ว พวกท่านจงไปหาผู้ปกครองเมืองและจงขอร้องเขาให้มาอาบน้ำฉัน

 

 

 

และในท้ายของเดือนรอยับปีที่ 204 ฮิจเราะห์ของคืนวันศุกร์หลังละหมาดอีซา ต่อหน้าลูกศิษย์ของท่านจำนวนหนึ่งที่สำคัญ คือ ท่านรอเบียอ์ ยีซี ต่อการถึงแก่กรรมของท่านอีหม่ามก็ได้กระจายปกคลุมไปทั่วแคว้นแดนอียิปต์ เมื่อทุก ๆ คนได้รับทราบข่าว ต่างก็เศร้าโศกเสียใจเป็นล้นพ้น จึงได้ออกมาเพื่อแสดงความเสียใจและเพื่อที่จะหาบร่างของท่านไปอยู่ในที่ที่ดีที่สุด ต่อมาทุก ๆ คนก็ต้องผิดหวังมิอาจทำได้อันสืบเนื่องจากประชาชนที่ได้รับทราบข่าวก่อนหน้านี้ได้ออกมาเนืองแน่น

 

 

 

ตอนเช้าของวันศุกร์ผู้ปกครองเมืองก็ได้ออกมาเพื่ออาบน้ำให้อิหม่ามตามที่ได้รับวาซีฮัตเอาไว้ ผู้ปกครองเมืองได้ถามแก่ญาติว่า ท่านอิหม่ามมีหนี้สินบ้างหรือเปล่า ทางญาติจึงตอบว่ามี ผู้ปกครองจึงได้ทำการชดใช้หนี้สินแทนให้แด่อิหม่าม พอใช้หนี้สินเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงกล่าวว่า นี่และคือความหมายที่ท่านบอกให้ฉันมาอาบน้ำให้

 

 

 

หลังจากละหมาดอัลฮัสริเสร็จสิ้นแล้ว ศพของท่านอิหม่ามซาฟีอีก็ได้เริ่มเคลื่อนออกจากที่พักและเมื่อได้เคลื่อนศพออกมาถึงที่ถนนที่มีนามว่า ถนนอัสซัมบิดะห์นาฟีซะห์ นางเจ้าของชื่อถนนก็ออกมาและขอให้ผู้ที่แบกหาม ในขณะที่ท่านอิหม่ามซาฟีอีได้ละหมาดอยู่ที่มัสยิดขณะนั้นท่านได้พบกับชายคนหนึ่งนั่งอยู่ระหว่างกุโบร์นบีกับมินบัร หน้าตาสดใส เสื้อผ้าขาวสะอาด ละหมาดได้ถูกต้องสวยงาม ฉันจึงถามคนที่อยู่ที่นั่นว่า คนนั้นชื่ออะไร อยู่ที่ไหน ก็ได้รับคำตอบว่า อยู่ที่อิรัก

 

 

 

อิหม่ามซาฟีอีถามว่า ที่ใดของอิรัก เขาตอบว่า เมืองกูฟะห์ อิหม่ามถามว่า ผู้ที่มีความรู้นั้นและสั่งสอนในแก่นแท้ของกุรอ่านและสุนนะของท่านร่อซุ้ลลุ้ลเลาห์สอลลัลลอรุอาลัยฮิวาลัสลัม บอกฉันว่า ท่าน ท่าน มูฮำหมัดบุตรฮาซัน ท่านอาบูยูซุมเพื่อนของอิหม่ามฮานาฟี

 

 

 

อิหม่ามซาฟีอีกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะกลับไปกูฟะห์เมื่อใด พวกเขาทั้งหลายกล่าวแก่ฉันว่า รุ่งสางของวันใหม่ เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ไปหาท่านอิหม่ามมาเล็ก ฉันก็กล่าวแก่ท่านอิหม่ามมาลิกว่า แท้จริงฉันได้ออกจากเมืองมักกะห์เพื่อศึกษาวิชาความรู้โดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีเกียรติทั้งหลาย และฉันคงมีโอกาสกลับสู่มักกะห์เพื่อศึกษาเล่าเรียนอีกครั้งหนึ่งหากมีวาสนา อิหม่ามมาลิกกล่าวแก่ฉันว่าท่านไม่ทราบหรือว่าแท้จริงบรรดามาลาอีกะห์ได้ใช้ปีกโอบล้อมแก่ผู้ศึกษาเล่าเรียนเพราะเหตุพึงพอใจผู้ศึกษาเล่าเรียน

 

(ถนนอัสซัมบิดะห์นาฟี ซะห์ นางเจ้าของชื่อถนนก็ออกมาและขอให้ผู้ที่แบกหาม ให้นำศพของท่านอิหม่ามเข้าบ้าน เพื่อทำการละหมาดให้อิหม่าม หลังจากที่เธอได้ละหมาดเสร็จแล้ว จึงขอให้อิหม่ามได้รับความเมตตาจากอัลเลาะฮ์และขอดุอาอ์ให้)

 

อิหม่ามซาฟีอีกล่าวว่า ขณะที่ฉันได้ตัดสินใจจะเดินทาง อิหม่ามมาลิกก็ได้เตรียมท่านอิหม่ามให้นำศพของท่านอิหม่ามเข้าบ้าน เพื่อทำการละหมาดให้อิหม่าม หลังจากที่เธอได้ละหมาดเสร็จแล้ว จึงขอให้อิหม่ามได้รับความเมตตาจากอัลเลาะฮ์และขอดุอาอ์ให้ หลังจากนั้นศพก็จึงเคลื่อนไปยังกุรอฟะห์ ซึ่งทราบขานกันดีโดยทั่วไปในขณะนั้นว่า ตุรุบะห์เอาลาดอับดุล อิกัม และ ณ ที่นี่ ที่ท่านอิหม่ามได้ถูกฝังอยู่ ณ ที่แห่งนี้ หลังจากฝังแล้ว จึงถูกชายานามใหม่ว่า ตุรบะห์อัซซาฟีอี ตาบจนถึงทุกวันนี้

 

 

 

สรุปชีวะประวัติทางด้านการศึกษาอีกครั้งหนึ่ง

 

 

 

ปรากฏว่าการออกหาวิชาของอิหม่ามเต็มไปด้วยความยากลำบาก การออกหาวิชาความรู้ขั้นแรกนั้นที่นครมดีนะห์ ได้เล่าเรียนกับอิหม่ามมาลิกและท่องจำมูวัตเตาะอ์และอิหม่ามมาลิกได้ให้เกียรติอิหม่ามซาฟีอีโดยให้อิหม่ามซาฟีอีนั่งแทนที่ของท่านและให้อิหม่ามซาฟีอีอ่านมูวัตให้ประชาชนฟังและอธิบายอย่างชัดเจน อิหม่ามซาฟีอีได้อยู่กับท่านอิหม่ามมาลิกที่มาดีนะห์ประมาณ 8 เดือน

 

 

 

การออกเดินทางไปยังอิรัก ( แบกแดด)

 

 

 

ตามปกติแล้วชาวอียิปต์จะมุ่งสู่นครมดีนะห์ หลังจากทำฮัจยีเสร็จสิ้นเพื่อทำการละหมาดที่มัสยิดนบีมูฮำหมัดศอลลัลลอฮอะลัยฮิวาซัลลัม เพื่อมารับฟังมูวัตเตาะห์ของอิหม่ามมาลิก อิหม่ามซาฟีอีได้กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สอนมูวัตเตาะแด่เขาเหล่านั้นเพื่อท่องจำ ส่วนหนึ่งจากพวกเหล่านั้นคือ อัลดุลเลาะห์บุตรฮาคัม อัชฮับบุตรกอเซ้ม ท่านลิซบุตรซาอัด

 

 

 

  อัล-ชาฟีอียฺสิ้นชีวิตในปีค.ศ. 820 (ฮ.ศ . 204 ) รวมอายุได้ 54 ปี แนวนิติศาสตร์ของเขามีผู้ดำเนินตามเป็นจำนวนมาก จนก่อตัวเป็นสำนักนิติศาสตร์สำคัญ เรียกว่า มัซฮับ ชาฟิอียฺ

 

        
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5 Empty Re: ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5

ตั้งหัวข้อ by Profile Fri Dec 05, 2014 9:35 pm

ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5 Ibn-hanbal


ชีวะประวัติของอิหม่ามอัหมัด อิบนฺ หัมบัล

 

 

 

.........อิหม่ามอัหมัด อิบนฺ หัมบัล เกิดเมื่อเดือนรอบีอุลเอาวัล ฮ . ศ . 164 เกิดที่นครบัฆดาดท่านมีนามเต็มว่า อบูอับดุลลอฮฺ อัหมัด อิบนฺ มุหัมมัด อิบนฺ ฮัมบัล อิบนฺ ฮิลาล อิบนฺ อะซัด อิบนฺ อิดรีส อิบนฺ อับดุลลอฮฺ

 

 

 

.........บิดาของท่านได้สิ้นชีพตั้งแต่ท่านอายุยังเยาว์วัย อิบนฺหัมบัลมีฐานะยากจน ซึ่งท่านมีเพียงบ้านเล็กๆหลังเดียวเท่านั้นชีวิตของอิหม่ามอิบนฺหัมบัลดำเนินไปด้วยความยากลำบาก ท่านต้องหางานทําเพื่อเลี้ยงชีพด้วยความขยันขันแข็ง ท่านเคยรับจ้างเย็บผ้าบางครั้งท่านก็เก็บของเหลือจากไร่หลังจากเจ้าของได้เก็บเกี่ยวไปแล้ว ซึ่งท่านทำโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของไร่ ท่านเคยท่อผ้าขาย และเคยเป็นกรรมกร ท่านเป็นคนที่ไม่เลือกงานหากงานนั้นไม่เป็นที่ห้ามของศาสนา

 

 

 

.........ตามประวัติของท่านยังระบุอีกว่า อิหม่ามอัหมัดได้มีโอกาสเดินทางไปบำเพ็ญฮัจญ์ ณ นครมักกะฮฺถึงห้าครั้งแต่ในจำนวนนี้ท่านเดินทางโดยไม่อาศัยพาหนะถึง 3 ครั้ง ถึงแม้ว่าท่านเป็นคนจนท่านมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์

 

 

 

การศึกษา

 

 

 

.........ท่านอิหม่ามอัหมัด อิบนฺ หัมบัลเป็นคนที่มองเห็นความสำคัญของการศึกษา ด้วยเหตุนั้นท่านมีความมุ่งมั่นที่จะศึกษาแสวงหาวิชาความรู้ถึงแม้ว่าท่านเป็นคนจนแต่ความยากจนนั้น ไม่สามารถที่จะกั้นขวางการศึกษาของเขาได้ ท่านเป็นผู้ที่มีความอุตสาหะและใฝ่ฝันสูงในด้านการศึกษาเป็นอย่างยิ่งท่านได้ท่องจำอัลกุรอานตั้งแต่อายุเพียง 1 ปี และด้วยความมุ่งมั่นทางด้านการศึกษานี้เองทำให้ท่านได้เดินทางเพื่อแสวงหาวิชาความรู้ไปตามตัวเมืองต่างๆ เช่น ไปศึกษายังนครมักกะฮฺ มาดีนะฮฺ เยเมน กูฟะฮฺ และ บัสเราะฮฺ ทั้ง ๆที่ท่านมีฐานะยากจน

 

 

 

ครูบาอาจารย์

 

 

 

.........ท่านได้ศึกษาวิชาหะดีษและฟิกฮฺกับอบียูซุฟ ยะกูบ อิบนฺ อิบรอฮีม และท่านได้ศึกษาหะดีษกับฮาชิม อิบนฺ บะชีร อัลวาซิฏีย์เป็นเวลา 4 ปีท่านได้ศึกษาหะดีษจากอาจารย์ท่านนี้มากกว่าสามพันตัวบทหะดีษ ซึ่งท่านฮาชิมเป็นอิหม่ามหะดีษที่นครบัฆดาด และเป็นอุลามาอฺท่านหนึ่งจากบรรดาตาบีอีน

 

.........นอกจากท่านได้ศึกษาจากฮะชิมแล้ว อิบนฺ หัมบัลยังได้ศึกษากับอะมีร อิบนฺ อับดุลลอฮ อิบนฺ คอลิด อับดุรเราะห์มาน อิบนฺ มะฮฺดี และอบีบักร อิบนฺ อิยาซ

 

.........ครูบาอาจารย์ของอิหม่ามอิบนฺหัมบัลที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ อิหม่ามซาฟีอี ท่านได้ศึกษากับอิหม่ามซาฟีอีเป็นครั้งแรกที่นครมักกะฮฺ เมื่ออิบนฺหัมบัลไปบำเพ็ญฮัจญ์ที่นั้นซึ่งในขณะนั้นอิหม่ามซาฟีอีกำลังสอนอยู่ในมัสยิดฮะรอม และอิบนฺหัมบัลยังได้ไปศึกษากับอิบรอฮีม อิบนฺ ซะอด์ ยะฮยา อัลก็อฏฏอน อิหม่ามอัหมัดยังมีความตั้งใจที่จะไปศึกษากับอิหม่ามมาลิกแต่อิหม่ามมาลิกได้เสียชีวิตไปก่อน





สานสานุศิษย์

 

 

 

            ศิษย์ของท่าน อิหม่ามอัหมัดที่สำคัญก็คือ ยะฮยา อิบนุ อาดัม อับดุรเราะห์มาน อิบนฺ ฮัมดี ยะซีด อิบนฺฮารูน อาลีอิบนฺ อัลมะดีนี มุฮัมมัด อิบนฺ อิสฮาก อบูฮาชิม อัรรอศีพ และ บรรดาอุลามาอฺท่านอื่นๆอีกจำนวนมาก

 

 

การทรมานท่านอิหม่าม

 



.........หากเราศึกษาประวัติของอุลามาอฺ เราได้เห็นว่าอุลามาอฺส่วนใหญ่ได้เผชิญกับภัย คุกคามต่าง ๆ นานาเช่นเดียวกับอิหม่ามอัหมัดอิบนฺหัมบัล ท่านก็ได้เผชิญกับการทรมานอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากความยึดมั่นในการศัทธา ความขัดแย้ง เกี่ยวกับอัลกุรอานที่ว่าอัลกุรอานนั้นเป็นมัคลูกหรือไม่ ซึ่งในยุดของท่านอิหม่ามอัหมัดอิบนฺหัมบัล ได้มีแนวคิดที่ถือว่า อัลกรุอานนั้นเป็นมัคลูก กล่าวคืออัลกุรอาน มีสถานภาพเช่นเดียวกับบรรดาสรรพสิ่งต่างๆที่ถูกสร้างขึ้นในโลกนี้ และได้มีผู้คนที่ยึดถือแนวคิดและทัศนะดังกล่าว แนวคิดเช่นนี้เกิดขึ้นในสมัย ของคอลีฟะฮฺ อัลมะมูน แห่งราชวงค์ อัลอับซียะฮฺ ซึงเป็นผู้ที่ยึดมั่นในแนวคิดของ มุอฺตาซิละฮฺ บุคคลซึ่งเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดที่ถือว่า อัลกรุอานเป็นมัคลูกนั้น คืออัหฺมัด อิบนฺ อบี คิอาด เขาเป็นผู้ใกล้ชิดสนิทสนมกับคอลีฟะฮฺอัลมะมูนมากที่สุด และเขายังได้รับการสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวจากบรรดาฟุกอฮะอฺทำให้อุลามาอฺและบรรดาผู้ที่มีความรู้อื่นๆ จำต้องก้มศีรษะยอมรับแนวคิดนั้นด้วยความเกรงกลัวต่ออำนาจ และ เกรงกลัวต่อการถูกทรมานหากคัดค้านหรือต่อต้าน

 

 

 

.........แต่อิหม่ามอัหมัด ปฏิบัติตรงกันข้าม ท่านปฏิเสธ แนวคิด หรือ การศรัทธาดังกล่าวโดยไม่หวาดเกรงต่ออำนาจใด ๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้อิหม่ามอัหมัด อิบนฺ หัมบัลถูกควบคุมตัวเพื่อนําไปเฝ้าคอลีฟะฮฺ อัลมะมูน แต่ในระหว่างการคุมตัวไปนั้นคอลีฟะฮฺอัลมะมูน ได้สินพระชนน์ไปเสียก่อน ท่านอิหม่ามจึงตกเป็นผู้ต้องหาที่คอยการพิจารณาจากคอลีฟะฮฺองค์ใหม่ที่จะขึ้นครองราช ก่อนที่คอลีฟะฮฺอัลมะมูนจะสิ้นพระชนน์ คอลีฟะฮฺอัลมะมูนได้สั่งเสียไว้กับ มุอฺตาศิม พระอนุชาซึ่งเป็นทายาทแห่งราชบังลังก์ให้ยึดตามแนวคิดหรือทัศนะที่ว่า อัลกรุอานเป็นมัคลูก ดังนั้นเมื่อมุตาศิมขึ้นครองเป็นคอลีฟะฮฺ ก็ได้รับสั่งให้เบิกตัวท่านอิหม่ามอัหมัดเข้าเฝ้า และได้บีบบังคับให้ท่านยอมรับแนวคิดและทัศนะว่าอัลกุรอานมีสถานภาพเป็นมัคลุค แต่อิหม่ามอัหมัดก็ยื่นยันทัศนะของท่านไม่เปลี่ยนแปลง จนในที่สุดท่านถูกลงโทษ โดยการเฆี่ยนด้วยแซ่จนกระทั้งอิหม่าม สิ้นสติไปหลายครั้ง

 

 

 

การเสียชีวิตท่านอิหม่าม

 























 

.........อิหม่ามอัหมัด อิบนฺ หัมบัล ได้เสียชีวิตลงเมื่อวัน ศุกร์ที่ 12 เดือน รอบีอุลเอาวัล ปี ฮ . ศ . 241 ที่นคร บัฆดาด ( แบกแดด ) และได้ทำการละหมาดญานาซะฮ์ของท่านที่นั้นหลังจากการละหมาดวันศุกร์ ซึ่งท่านมีอายุ 77 ปี



 



 



 



             อะหฺมัด อิบนฺ ฮัมบัล เป็นปราชญ์ผู้นำด้านนิติศาสตร์อิสลามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง สำหรับแนวนิติศาสตร์ของเขามีผู้ปฏิบัติตามน้อยกว่าสามสำนักใหญ่ แต่ก็มีผู้ปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องมาตลอดประวัติศาสตร์ เรียกสำนักนิติศาสตร์ของเขาว่า มัซฮับ ฮัมบะลียฺ



http://www.miftahcairo.com/index.php/17-fiqage/89-5
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5 Empty Re: ชีวะประวัติของอีหม่ามทั้งสี่5

ตั้งหัวข้อ by Profile Fri Dec 05, 2014 9:54 pm

ประวัตของท่านอีหม่ามนาวาวียฺ

 

 

 

 

 

 

ประวัตของท่านอีหม่ามนาวาวียฺ

 

 

 

          อิหม่ามอัน นะวาวียฺ ชื่อเต็มว่า มุหฺยิดดีน อบู ซะการียา ยะหฺยา บิน ชะรอฟ อัล ฮิซามียฺ อัน นะวาวียฺ เกิดปี ค.ศ 1233 ที่หมู่บ้านนะวา

 

ทางตอนใต้ของเมืองดะมัสกัช ซีเรีย เนื่องจากท่านมาจากหมู่บ้านนะวา ท่านจึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัน นะวาวียฺ(ชาวนะวา)

 

 

 

ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา

 

 

 

            อิหม่ามอัน นะวาวียฺ ไม่ได้มาจากตระกูลผู้รู้เช่นอุละมาอ์จำนวนมาก พ่อของท่านมีสวนแปลงหนึ่ง ซึ่งได้ปลูกพืชมาเป็นอาหารแก่ครอบครัว

 

ลักษณะสำคัญของครอบครัวนี้ก็คือ ความเคร่งครัดในสิ่งที่ฮะลาล และหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะรับประทานในสิ่งที่คลุมเครือ

 

 

 

            ในวัยเด็กอิหม่ามอัน นะวาวียฺ ไม่เหมือนเด็กทั่วไป คือไม่ชอบการละเล่นต่างๆ ดังนั้น ตั้งแต่วัยเด็กท่านชอบค้นคว้าศึกษาหาความรู้อย่าง

 

 

 

เอาจริงเอาจัง ท่านเกลียดกิจกรรมที่ทำให้ท่านห่างจากการท่องจำอัลกุรอาน มีอยู่ครั้งหนึ่งที่พวกเด็กๆในหมู่บ้านบังคับให้ท่านไปเล่น

 

ปรากฏว่าอิหม่ามอัน นะวาวียฺ ถึงกับร้องให้ เพราะเสียดายเวลาที่สูญเสียไป จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ท่านสามารถท่องจำอัลกุรอานทั้งเล่มตั้งแต่วัยเด็ก

 

 

 

          เมื่อท่านอายุได้ 18 ปี พ่อได้นำท่านไปที่นครดามัสกัช เพื่อให้ท่านได้ศึกษาต่อ ที่นั่นท่านได้แสดงถึงความเป็นเลิศในการศึกษา

 

ท่านชำนาญในฟิกฮฺ มัซฮับชาฟิอียฺ ท่านสามารถท่องจำหนังสือต่างๆได้จำนวนมาก

 

 

 

          สถานที่ศึกษาแห่งแรกในดามัสกัชของท่านคือโรงเรียน ซารอมียะฮฺ จากนั้นก็ศึกษาต่อที่โรงเรียนรอฮาวียะฮฺ ท่านได้ใช้เวลาใน

 

การฟังบรรยายวันละ12 ชั่วโมง และเมื่ออายุได้ 24 ปี ท่าได้เริ่มสอนหนังสือที่โรงเรียนฟัชรอฟียะฮฺ ความเป็นเลิศทางวิชาการของท่าน

 

เป็นที่ยอมรับท่ามกลางนักปราชญ์ทั้งหลาย

 

 

 

บุคลิกภาพ

 

          อิหม่ามอัน นะวาวียฺ เป็นผู้สมถะอย่างยิ่ง ท่านอาศัยอยู่ในห้องพักเล็กๆที่มีหนังสือเต็มห้อง มีว่างเหลือสำหรับนั่งเท่านั้น ท่านได้ใช้เวลา

 

 

 

ทั้งหมดในแต่ละวันกับการหาความรู้และการสอนหนังสือ ท่านนอนหลับเพียงเล็กน้อยและตื่นขึ้นมาหาความรู้ต่อ ท่านเคยมุมานะในการเรียนจนกระทั่งว่า

 

 

 

มีอยู่สองปีที่ท่านไม่ได้ล้มตัวลงนอนหลับ เพียงแต่นั่งหลับเท่านั้น แม้แต่ว่าท่านเดิน ท่านก็ไม่ยอมเสียเวลา จะใช้เวลานี้ท่องจำและทบทวนหนังสือ

 

 

 

           ชีวิตของท่านอยู่แบบเรียบง่าย ท่านรับประทานอาหารพื้นๆที่พ่อท่านส่งมาให้จากหมู่บ้านนะวา ท่านไม่ยอมรับประทานอาหารที่ดูมีระดับ

 

 

 

ท่านให้เหตุผลว่า นั่นเป็นอาหารของพวกทรราชย์

 

 

 

          ท่านได้ถือศีลอดทุกวัน เว้นวันที่ศาสนาห้าม(ในทรรศนะของอัน นะวาวียฺ สามารถือศีลอดได้ทุกวัน ตราบที่ไม่ไปถือในวันที่ศาสนาห้าม เช่น วันอีด)

 

 

 

ท่านเคยรับค่าตอบแทนในการสอนปีแรก แต่ท่านได้ใช้มันหมดไปกับการซื้อหนังสือ และต่อมาท่านไม่รับค่าตอบแทนอีกเลย

 

              ชีวิตทีสมถะอย่างยิ่งของอิหม่ามอันนะวียฺ นำไปสู่คำถามมากมายจากนักวิชาการรุ่นหลัง เพราะเป็นการปฏิบัติที่ยากที่ผู้อื่นจะทำได้

 

สรุปว่านี่เป็นลักษณะพิเศษที่เข้ากับธรรมชาติของท่าน เป็นธรรมชาติของผู้ใฝ่รู้ที่ได้อุทิศทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความรู้

 

            จุดเด่นของท่านก็คือ การที่ท่านรักหนังสือมาก ท่านได้เก็บสะสมหนังสือดีๆมากมาย รวมทั้งหนังสือหายาก เมื่ออุละมาอ์ที่มีชื่อท่านหนึ่งคือ

 

ท่านตาญุดดีน อัซ ซุบกียฺ ถูกขอให้ทำการทำการเรียบเรียงหนังสือที่อิหม่ามอัน นะวาวียฺ แต่งไว้ไม่เสร็จ ชื่อหนังสืออัล มัจญมูอฺ

 

ท่านซุบกียฺ ปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า ท่านไม่มีหนังสืออ้างอิงเท่ากับที่อิหม่ามอัน นะวาวียฺ มีอยู่

 

 

 

            คำถามอีกข้อหนึ่งที่มีต่อชีวิตของอิหม่ามอัน นะวาวียฺก็คือ เหตุใดท่านไม่แต่งงาน มีคำอธิบายมากมายจากนักวิชาการรุ่นหลัง

 

 

 

แต่ดูเหมือนว่าคำอธิบายที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ท่านปราศจากความต้องการความสุขในโลกนี้เช่นคนอื่นๆ ชีวิตของท่านปรารถนาแต่เพียง

 

 

 

การแสงหาความรู้และการถ่ายทอดมันให้แก่อุมมะฮฺอิสลามเท่านั้น

 

 

 

           ความจริง ครั้งหนึ่งท่านเคยสอนเรื่องแต่งงานว่าเป็นซุนนะฮฺอันยิ่งใหญ่ และท่านบอกว่าบางทีนี่เป็นเพียงซุนนะฮฺที่ท่านไม่สามารถทำได้

 

 

 

ท่านให้เหตุผลว่าฉันกลัวว่า ฉันอาจทำตามซุนนะฮฺหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันฉันต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ต้องห้ามอื่นๆนั่นคือสิทธิของภรรยา

 

 

 

ผู้ดำเนินตามมัซฮับตามเจตนารมณ์

 

 

 

            แม้ว่าอิหม่ามอัน นะวาวียฺ จะสังกัดอยู่กับฟิกฮฺ มัซฮับชาฟิอียฺ  แต่ท่านไม่ใช่มุตะอัศศิบ(ผู้คลั่งไคล้มัซฮับ) ดังนั้น จึงพบในงานเขียนของท่าน

 

 

 

ไม่ได้ตามทรรศนะของมัซฮับชาฟิอียฺเสมอไป ดังที่จะพบได้ใหนังสืออัล มัจญมุอฺ และคำอธิบายเศาะฮีฮฺ มุสลิมของท่าน

 

         ท่านอิบนุ อัล อัตตาร ศิษย์คนหนึ่งของอิหม่ามอัน นะวาวียฺ ได้กล่าวว่า ท่านเป็นผู้รักษาและท่องจำ(ทรรศนะทางฟิกฮฺของ)มัซฮับชาฟิอียฺ

 

ทั้งในหลักหลักการ หลักพื้นฐาน และประเด็นรองๆลงมา แต่ท่านยังเป็นผู้มีความรู้ในทรรศนะของเหล่าเศาะฮาบะฮฺและตาบีอีน ท่านมีความรู้

 

ในสิ่งที่อุละมาอ์เห็นพ้องต้องกันและที่พวกเขาเห็นแตกต่างกัน ด้วยเหตุผลนี้ทั้งหมด ท่านคือผู้ดำเนินตามวิถีทางของอุละมาอ์ยุคแรกของอิสลาม

 

          ในฟิกฮฺ มัซฮับ ชาฟิอียฺนั้น มีอุละมาอ์ที่โด่งดังในมัซฮับนี้สองท่านที่ถูกเรียกว่า อัช ชัยคอนหรือเชคทั้งสอง คืออิหม่ามอัน นะวาวียฺ

 

และอิหม่ามรอฟิอียฺ ทั้งสองท่านมีการให้ทรรศนะบางอย่างที่แตกต่างกัน ผู้เล่าเรียนทางมัซฮับชาฟิอียฺบางท่านชอบอิหม่ามรอฟิอียฺมากกว่า

 

เพราะว่าใกล้เคียงกับวิธีคิดทางฟิกฮฺของมัซฮับชาฟิอียฺมากกว่า แต่ก็มีจำนวนมากที่ชอบทรรศนะของอิหม่ามอัน นะวาวียฺ มากกว่า อันเนื่องจาก

 

ท่านมีความรู้ที่ลึกซึ้งในวิชาฮะดีษมากกว่า

 

 

 

ผู้สร้างสรรค์งานวิชาการ

 

 

 

            อิหม่ามอัน นะวาวียฺ ได้ผลิตงานเขียนออกมาอย่างมากมาย หนึ่งในชุดตำราที่ได้รับความชื่อถือตลอดมาก็คือ คำอธิบาย เศาะฮีฮฺ มุสลิม

 

 

 

 ซึ่งถือว่าเป็นคำอธิบายเศาะฮีฮฺมุสลิมอันดับหนึ่ง คู่กับคำอธิบายเศาะฮีฮฺ บุคอรียฺ ของอิหม่ามอิบนุ ฮะญัร อัล อัสกอลานียฺ(ชื่อฟัตหุล บารียฺ)

 

ท่านได้แต่งหนังสือชุดยิ่งใหญ่นี้ในช่วงท้ายๆของชีวิต ใช้เวลาเพียงแค่2 ปี ท่านยังได้อธิบายเศาะฮีฮฺ บุคอรียอีกด้วย แต่ไม่เสร็จ ท่านก็เสียชีวิตเสียก่อน

 

           งานเขียนที่ได้รับความนิยมชิ้นต่อมาของท่านคือ ริยาฎุศ ศอลีฮีน”(อุทยานของคนดี) เป็นการนำอัลกุรอานและฮะดีษมาจัดหมวดหมู่

 

เป็นบทๆในเรื่องเกี่ยวกับความดีงามต่างๆ หนังสือชุดนี้ถูกนำไปอธิบายต่อโดยอุละมาอ์รุ่นหลัง ที่น่าสนใจคือคำอธิบายของเชค มุฮัมมัด ศอลิหฺ อัล อุษัยมีน

 

            สำหรับหนังสือฟิกฮฺที่ชื่อ อัล มัจญมูอฺของท่าน ได้รับความเชื่อถืออย่างสูง แม้จะเรียบเรียงไม่เสร็จสิ้นก็ตาม หนังสือชุดนี้ถูกถือว่า

 

เป็นหนังสือสารานุกรมทางฟิกฮฺคู่กับหนังสืออัล มุฆนียฺของอิบนุ กุดามะฮฺจากมัซฮับฮัมบะลียฺ ซึ่งหนังสือทั้งสองชุดนี้ไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่กับมัซฮับ

 

ของผู้แต่ง แต่เป้าหมายก็คือการนำเสนอสิ่งที่สอดคล้องกับอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺ

 

             ส่วนที่แพร่หลายมากที่สุดคือ การนำฮะดีษที่ครอบคลุมคำสอนอิสลามทั้งหมดมาลำดับไว้ เรียกว่า สี่สิบ ฮะดีษหรือรู้จักกันในชื่อ

 

 

 

สี่สิบฮะดีษ นะวาวียฺ

 

 

 

ผู้กล้าเผชิญหน้ากับผู้ปกครองที่อธรรม

 

                อิหม่านอัน นะวาวียฺ มิได้มีความจริงจังในแง่วิชาการเท่านั้น เมื่อเผชิญกับความอธรรมบนหน้าแผ่นดิน ท่านไม่ยอมเงียบ แต่ได้ยืนขึ้นเพื่อ

 

หลักการอิสลาม แม้กระทั่งการตักเตือนผู้ปกครองทั้งหลาย วิธีหนึ่งที่ท่านนิยมทำก็คือการส่งจดหมายไปตักเตือนผู้ปกครองเหล่านั้น บางครั้งท่าน

 

ได้ร่างจดหมายถึงผู้ปกครอง โดยเซ็นร่วมกับอุละมาอ์ท่านอื่นๆจากสำนักฟิกฮฺต่างๆ

 

             ท่านได้คัดค้านความอยุติธรรมของผู้ปกครองหลายๆครั้ง ครั้งหนึ่ง ซุลฏอน(สุลต่าน)ในเมืองที่ท่านอาศัยอยู่ต้องการให้อุละมาอ์ทุกคน

 

ออกฟัตวาเก็บทรัพย์สินกับประชาชนเพื่อต่อสู้กับมองโกล แต่ท่านเป็นอุละมาอ์คนเดียวที่ยังไม่ยอมออกฟัตวาให้ สุลต่านจึงให้นำตัวอิหม่ามอัน นะวาวียฺ

 

มาถามถึงเหตุผล ท่านตอบว่าฉันรู้ว่า ท่านเคยเป็นทาสของอมีร บันดุการ์ และท่านไม่เคยมีทรัพย์ใดๆมาก่อนเลย แต่แล้วอัลลอฮฺได้ให้

 

ความโปรดปรานกับท่าน และท่านได้กลายเป็นผู้ปกครอง ฉันได้ยินมาว่า ท่านมีทาสชายถึงหนึ่งพันคน และแต่ละคนมีสายรัดด้วยทอง

 

และท่านยังมีทาสหญิงอีกสองพันคน แต่ละคนมีเครื่องประดับที่เป็นทอง หากท่านได้จ่ายมันทั้งหมดและได้ปล่อยทาสชายของท่านด้วยสายรัดผ้าแทน

 

สายรัดทอง และท่านได้ปล่อยทาสหญิงพร้อมเครื่องนุ่งห่มโดยไม่มีเครื่องประดับเพชรนิลจิลดา แล้วฉันจะฟัตวาให้ท่านสามารถเก็บทรัพย์สิน

 

 

 

จากประชาชนได้

 

 

 

         กรณีนี้ แม้ว่าอิหม่ามอัน นะวะวียฺ จะเห็นด้วยกับการรวบรวมทรัพย์ในการต่อสู้ แต่ท่านเห็นว่าต้องเก็บตามวิธีการที่ถูกต้องเท่านั้น

 

 

 

           สุลต่านโกรธแค้นมากและได้ขับไล่ท่านออกจากเมืองดามัสกัช ท่านได้จากไปอยู่หมู่บ้านนะวา เหล่าอะละมาอ์พยายามของให้ท่านกลับมาอีกครั้ง

 

 

 

แต่ท่านปฏิเสธ       การคัดค้านใดๆต่อผู้ปกครองที่อธรรมของท่านมีผลกระทบสูงมาก อันเนื่องจากท่านเป็นอุละมาอ์ที่อิสระ ไม่รับเงินเดือนจากใคร

 

 

 

มีวีถีชีวิตที่พอเพียง การคัดค้านของท่านจะได้รับการสนับสนุนจากอุละมาอ์และมวลชนมุสลิมเสมอ

 

 

 

วาระสุดท้าย

 

 

 

          ท่านอิหม่ามอัน นะวาวียฺ ใช้ชีวิตในหมู่บ้านนะวาในช่วงสั้นๆ ท่านก็ล้มป่วยลง และเสียชีวิตในปี 1277 อายุเพียง 43 ปีเท่านั้น เมื่อข่าวการ

 

 

 

เสียชีวิตของท่านไปถึงดามัสกัช ผู้คนต่างพากันร้องให้ต่อการจากไปของอุละมาอ์ผู้อุทิศตัวให้แก่วิชาการ การมีชีวิตที่เรียบง่าย และมีความกล้าหาญ

 

 

 

          ในหนังสือคำอธิบาย เศาะฮีฮฺ มุสลิม ของท่าน ท่านได้แสดงถึงความต้องการที่ให้หลุมฝังศพของท่านเป็นไปตามแบบอย่างของท่านนบีฯ

 

 

 

ไม่ให้มีการสร้างความพิเศษใดๆให้แก่ท่าน และศิษย์ของท่านอิบนุ อัตตาร  ได้รายงานว่า เป็นความจริงที่ว่า ทุกครั้งที่ผู้คนได้เข้าไปสร้างโดมเหนือ

 

 

 

หลุมฝังศพของท่าน มันก็จะพังลงมา จนถึงทุกวันนี้หลุมฝังศพของท่านก็ยังอยู่ในสภาพธรรมดา

 

 

 

ได้มีโอกาศไปเยี่ยม อิมามนะวา  ที่ซูเรีย

 

 

 

ท่านอิบนุอัฏฏ๊อร  ศิษย์ท่านอิมามอันนะวาวีย์  กล่าวว่า

 

 

 

"ในขณะที่ท่านอิมามอันนะวาวีย์ถูกฝัง  ครอบครัวของท่านต้องการจะสร้างกุบบะฮ์(โดม)บนสุสาน  ดังนั้น  ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้มาหาเข้าฝันน้าสาวของท่าน  และกล่าวว่า "ท่านน้าสาวจงบอกแก่พี่น้องของฉันและกลุ่มชนด้วยว่า  อย่าให้พวกเขากระทำการเยี่ยงนี้ที่พวกเขาได้ตั้งใจทำการปลูกสร้าง  เพราะว่าทุกครั้งที่พวกเขาจะสร้างสิ่งใด(บนสุสานของฉันนั้น) มันก็จะพังทลายลงมา"

 

 

 

ดังนั้น  พวกเขายังงดกระทำสิ่งดังกล่าว  และนำหินมาล้อมรอบสุสาน

 

 

 

ท่านอิบนุฟัฏลุลลอฮ์  กล่าวว่า  พี่น้องของอิมามอันนะวาวีย์ คือชัยค์อับดุรเราะห์มาน  เล่าให้ฉันฟังว่า "ขณะที่อิมามอันนะวาวีย์ป่วยใกล้เสียชีวต เขาอยากทานแอ๊ปเปิ้ล  ดังนั้นจึงนำแอ๊ปเปิ้ลมาให้  แต่เขาทานมันไม่ได้  เมื่อเขาเสียชีวิต  สมาชิกในครอบครัวบางส่วนฝันเห็นท่าน  และกล่าวถามว่า  อะไรบ้างที่อัลเลาะฮ์ทรงปฏิบัติแก่ท่าน?  อิมามอันนะวาวีย์ตอบว่า  พระองค์ทรงให้เกียรติที่พำนักของฉัน  พระองค์ทรงรับการงานของฉัน  และสิ่งแรกที่พระองค์ทรงนำมาต้อนรับแขก  คือพระองค์ทรงนำแอ๊ปเปิ้ลให้แก่ฉัน"

 

 

 

สานุศิษย์ของท่านบางส่วนเล่าให้ฉันฟังว่า  มีชายคนหนึ่งได้มาที่สุสานของท่านอิมามอันนะวาวีย์  และกล่าวว่า  ท่านใช่ไหม?  ที่ขัดแย้งกับอิมามอัรรอฟิอีย์  และท่านกล่าวว่า "ฉันขอกล่าวว่า...............(คือกล่าวทัศนะที่ค้านกับอิมามอัรรอฟิอีย์ตามการวินิจฉัยของท่านในหนังสืออัลมินฮาจญ์)" โดยเขาทำการชี้มือไปยังสุสานอิมามอันนะวาวีย์  ดังนั้นเมื่อเขายืนขึ้นแมงป่องจึงต่อยเขา"

 

 

 

ฉัน(คืออิมามอัสสะยูฏีย์) ได้เห็นหนังสือ อิมบาอฺอัลฆุมัร ของท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุหะญัร  รอฮิมะฮุลลอฮ์  ในการนำเสนอประวัติของ อัลญะมาล อัรร๊อยมีย์  ผู้อธิบายหนังสือ อัตตัมบีฮ์  ว่า  "เขานั้นชอบพูดจาลดเกียรติชัยค์มั๊วะห์ยุดดีน(คืออิมามอันนะวาวีย์) ดังนั้นในขณะที่เขาได้เสียชีวิต  ขณะที่เขาอยู่สถานอาบน้ำมัยยิด มีแมวตัวหนึ่งได้คาบฉกลิ้นของเขาหลุดออกไป  ดังนั้นสิ่งดังกล่าวย่อมเป็นอุทาหรณ์แก่มวลมนุษย์"  ดู  หนังสือ  อัลมินฮาจญุสสะวีย์ ฟี ตัรญะมะติล อิมามอันนะวาวีย์  ของท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  หน้า 80 - 81

 

 

 

ในหนังสือ  อิมบาอฺอัลฆุมัร ของท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุหะญัร  รอฮิมะฮุลลอฮ์  ระบุถ้อยคำดังนี้  ท่านอิบนุหะญัร กล่าวว่า "ท่านอัลญะมาล อันมิสรีย์ ได้กล่าวแก่ฉันว่า  อัรรีมีย์นั้นเหยียดหยามอิมามอันนะวาวีย์เป็นอย่างมาก   ในขณะปล่อยใกล้ตายนั้น  ฉันเห็นลิ้นของเขาล่อออกมาและมีสีดำ  ดังนั้นได้มีแมวตัวหนึ่งคาบฉกลิ้นของเขาหลุดออกไป   ดังนั้นสิ่งดังกล่าวย่อมเป็นอุทาหรณ์แก่มวลมนุษย์" ดู 3/48

 

 

 

 

 

ชีวิตทีสมถะอย่างยิ่งของอิหม่ามอันนะวียฺ นำไปสู่คำถามมากมายจากนักวิชาการรุ่นหลัง เพราะเป็นการปฏิบัติที่ยากที่ผู้อื่นจะทำได้

 

 

 

สรุปว่านี่เป็นลักษณะพิเศษที่เข้ากับธรรมชาติของท่าน เป็นธรรมชาติของผู้ใฝ่รู้ที่ได้อุทิศทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความรู้   

 

 

 

ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  ร่อฮิมะฮุลลอฮ์  กล่าวว่า

 

 

 

ท่านชัยค์  อิบนุ  อัลอัฏฏ๊อร  กล่าวว่า "ชัยค์ อัศศ่อดูก  อบูลกอซิม  อัลมิซฺซีย์ - ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในหมู่นักปราชญ์ผู้มีคุณธรรม - ได้บอกเล่าแก่ฉันว่า  เขาได้ฝันเห็นว่า  ณ  หมู่บ้านอัลมิซฺซะฮ์  มีธงมากมาย  และกลองได้ถูกตีขึ้น  ฉันจึงกล่าวว่า นี้มันอะไรกันหรือ? จึงถูกกล่าวแก่ฉันว่า  ค่ำคืนนี้  เป็นคืนที่ยะห์ยา อันนะวาวีย์  ได้ถูกตั้งแต่ให้เป็นหัวหน้า(กุตบ์ - คือวะลียุลลอฮ์ผู้เป็นแกนหลักแห่งโลกในยุคนั้นที่อัลเลาะฮ์ทรงให้การดูแลคุ้มครองเป็นพิเศษ)  ดังนั้น  ฉันจึงตื่นขึ้นมาจากนอน ทั้งที่ฉันเองไม่เคยรู้จักชัยค์อันนะวาวีย์มาก่อนเลยและไม่เคยได้ยินชื่อเขามาก่อนหน้านี้เลย  ฉะนั้น  ฉันจึงเข้าไปที่เมืองดิมัชก์ เพราะมีความต้องการบางอย่าง  ฉันจึงบอกสิ่งดังกล่าวให้ชายคนหนึ่งทราบ  เขาจึงกล่าวว่า  เขา(คือชัยค์อันนะวาวีย์) ก็คืออาจารย์แห่งดารุลฮะดิษ  ซึ่งในขณะนั้นเขากำลังนั่งอยู่ในนั้น  ฉันจึงเข้าไปหา  ดังนั้นในขณะที่ชัยค์อันนะวาวีย์มองมาที่ฉัน  เขาจึงลุกขึ้นมาทางด้านของฉัน  และกล่าวว่า "ท่านจงปกปิดสิ่งที่อยู่พร้อมกับท่าน(จากสิ่งที่ได้ฝันเห็น)และอย่าบอกเล่าให้คนใดฟัง" จากนั้นท่านชัยค์ก็กลับไปนั่งสถานที่เดิม"   ดู  หนังสือ  อัลมินฮาจญุสสะวีย์ ฟี ตัรญะมะติล อิมามอันนะวาวีย์  ของท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  หน้า 49 - 50

 

 

 

 

 

ชีวิตของท่านอยู่แบบเรียบง่าย ท่านรับประทานอาหารพื้นๆที่พ่อท่านส่งมาให้จากหมู่บ้านนะวา ท่านไม่ยอมรับประทานอาหารที่ดูมีระดับ

 

 

 

ท่านให้เหตุผลว่า นั่นเป็นอาหารของพวกทรราชย์       

 

 

 

ท่านอิบนุอัฏฏ๊อร  กล่าวว่า  ท่านกอฏอ อัลกุฏอฮ์  ญะมาลุดดีน อัซซัรอีย์  ได้เล่าเรื่องราวของอิมามอันนะนาวีย์ให้ฟังว่า "ตอนท่านอันนะวาวีย์ยังหนุ่มมีคนไปหามาหาสู่ท่านบ่อย  (เขากล่าวว่า) วันในหนึ่งฉันได้ไปหาท่านอันนะวาวีย์  พบว่าท่านกำลังทาน ค่อซีเราะห์ (แป้งผสมนมในภาชนะที่ตั้งไฟให้ร้อน)  ดังนั้น สุไลมาน กล่าวว่า  ท่านจงรับประทานเถิด แต่ทว่าท่านอันนะวาวีย์ไม่ค่อยอยากจะรับประทานนัก  ฉะนั้นน้องของท่านไปลุกขึ้นและมุ่งไปที่ตลาด  นำเนื้อย่างและของหวานมาให้  และกล่าวกับท่านอันนะวาวีย์ว่า ท่านจงรับประทานเถิด  แต่ทว่าท่านอันนะวาวีย์ไม่กิน  ดังนั้นน้องชายกล่าวว่า  โอ้ท่านพี่  สิ่งนี้ฮะรอมกระนั้นหรือ?  ท่านอันนะวาวีย์กล่าวว่า  ไม่ฮะรอมหรอก  แต่มันเป็นอาหารของพวกทรราชย์"

 

 

 

ท่านอิบนุลอัฏฏ๊อร  กล่าวว่า   "ท่านอิมามอันนะวาวีย์ไม่รับประทานแอ๊บเปิ้ลของเมืองดิมัชก์  ฉันจึงถามถึงสาเหตุดังกล่าว  ท่านอันนะวาวีย์กล่าวว่า เมืองดิมัชก์นั้นมีที่ดินวะก๊าฟและที่ดินที่เป็นของผู้ถูกอายัตทรัพย์เยอะ  และการดำเนินการต่อแผ่นดินดังกล่าวนั้นไม่อนุญาตนอกจากบนหนทางที่ดี และทำการเกษตรแบบมะซากอฮ์(ในรูปแบบให้บุคคลหนึ่งเข้าไปทำการเพาะปลูกแล้วมาแบ่งปันผลผลิตที่ได้ตามที่ตกลงไว้)  ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้นักปราชญ์ก็มีทัศนะที่ขัดแย้งกัน  ซึ่งผู้ใดที่อนุญาต  ก็จะวางเงื่อนไขว่าต้องทำให้ดีอย่างถูกต้อง  แต่ทว่าบรรดาผู้คนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้  นอกจากเป็นเพียงส่วนหนึ่ง(ที่ดี)จากหนึ่งพันส่วนที่เป็นผลิตผลให้แก่ผู้ปกครอง  ดังนั้นฉันจะสบายใจที่ได้รับประทานสิ่งดังกล่าวได้อย่างไร?"

 

 

 

ท่านอิบนุลอัฏฏ๊อรกล่าวว่า  ท่านชัยค์ อัลอารีฟ อัลมุฮักกิก อบู อับดุลฮะลีม มุฮัมมัด อัลอัคมีนีย์  กล่าวแก่ฉันว่า  "ท่านชัยค์มั๊วะห์ยุดดีน(อันนะวาวีย์)นั้น  ได้ดำเนินตามแนวทางของซอฮาบะฮ์  ซึ่งในยุคสมัยนี้ฉันไม่เคยทราบเลยว่าจะมีบุคคลหนึ่งที่ดำเนินตามแนวทางของซะฮาบะฮ์นอกจากชัยค์มั๊วะห์ยุดดีนอันนะวาวีย์" ดู  หนังสือ  อัลมินฮาจญุสสะวีย์ ฟี ตัรญะมะติล อิมามอันนะวาวีย์  ของท่านอิมามอัสสะยูฏีย์  หน้า 45 - 47

 

                  

 

ท่านได้แต่งหนังสือชุดยิ่งใหญ่นี้ในช่วงท้ายๆของชีวิต ใช้เวลาเพียงแค่2 ปี ท่านยังได้อธิบายเศาะฮีฮฺ บุคอรียอีกด้วย แต่ไม่เสร็จ ท่านก็เสียชีวิตเสียก่อน

 

 

 

ท่านอิมามอันนะวาวีย์  ได้กล่าวไว้ในบทนำหนังสือ  อธิบายซอฮิห์อัลบุคอรีย์  ความว่า "สำหรับซอฮิห์อัลอบุคอรีย์นั้น  ฉันเริ่มรวบรวมตำราในการอธิบายซอฮิห์บุคอรีย์  ซึ่งมีขนาดปานกลางไม่สั้นจนเกินไปและไม่ยืดยาวคนเกินไป  ไม่สั้นจนทำให้บกพร่องและไม่ยาวจนทำให้เบื่อหน่าย  และหากแม้นว่าปณิธานไม่อ่อนแอลงและหากบรรดาผู้ปรารถนาในหนังสือแบบยืดยาวมีมาก  ฉันก็จะทำการอธิบายซอฮิห์บุคอรีย์ให้ถึงหนึ่งร้อยเล่ม  พร้อมกลับห่างไกลการอธิบายแบบกล่าวซ้ำและเพิ่มเติมแบบไร้ประโยชน์"

 

 

 

ดังนั้น  หากท่านอิมามอันนะวาวีย์  ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  มีอายุยืนยาว  ผมคิดว่าตำราของท่านคงล้นดุนยา

ภาพจากเว็บ อื่น ส่วน ข้อความเป็นของเว็บ มิฟตะฮฺไคโร
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ