เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

เมื่อมีคนในครอบครัวของนางได้เสียชีวิต บรรดาสตรีก็จะมารวมตัวกัน

Go down

เมื่อมีคนในครอบครัวของนางได้เสียชีวิต บรรดาสตรีก็จะมารวมตัวกัน Empty เมื่อมีคนในครอบครัวของนางได้เสียชีวิต บรรดาสตรีก็จะมารวมตัวกัน

ตั้งหัวข้อ by Profile Sun Jul 27, 2014 1:47 pm

การกระทำของท่านหญิงอาอีชะ (ร.ฎ)

تَلْبِينَةٍ فَطُبِخَتْ ثُمَّ صُنِعَ ثَرِيدٌ فَصُبَّتْ التَّلْبِينَةُ عَلَيْهَا ثُمَّ قَالَتْ كُلْنَ مِنْهَا فَإِنِّي سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ التَّلْبِينَةُ مُجِمَّةٌ لِفُؤَادِ الْمَرِيضِ تَذْهَبُ بِبَعْضِ الْحُزْنِ

รายงานจาก อุรวะฮ์(หลานของท่านหญิงอาอิชะฮ์) จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ภริยาของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า แท้จริง ท่านหญิงอาอิชะฮ์นั้น เมื่อมีคนในครอบครัวของนางได้เสียชีวิต บรรดาสตรีก็จะมารวมตัวกันเพื่อสิ่งดังกล่าว หลังจากนั้น พวกนางก็แยกย้ายกันไป นอกจากครอบครัวและบรรดาเพื่อนของนาง ดังนั้น ท่านหญิงอาอิชะฮ์จึงใช้ให้นำภาชนะหนึ่งที่มีตัลบีนะฮ์(คืออาหารที่ทำมาจากแป้งอย่างดี ซึ่งบางครั้งจะใส่น้ำผึ้งผสมลงไปด้วย จะมีสีขาวนุ่มน่ารับประทาน) จากนั้นทำการปรุง หลังจากนั้นก็ทำการปรุงษะรีด(คือขนมปังหรือโรตีที่ฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วจิ้มกับแกงเนื้อ) แล้วนำตัลบีนะฮ์ราดบนษะรีด จากนั้นท่านหญิงอาอิชะฮ์กล่าวว่า พวกเธอจงรับประทานมันเถิด เพราะฉันได้ยินท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า (การรับประทาน)ตัลบีนะฮ์ จะทำให้ผู้ป่วยสบายใจคลายความโศรกเศร้า"


รายงานโดย อัลบุคอรีย์                              



,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,


จาก ยาบิร  อบู อัลไฮซัน บุตร อัตไตฮาน  ได้ทำอาหารให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และได้เชื้อเชิญท่านและสาวกของท่าน  เมื่อพวกเขาได้รับรับประทานเสร็จเรียบร้อย ท่านได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงตอบแทนให้แก่พี่น้องของพวกท่าน พวกเขากล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ อะไรคือการตอบแทนให้เขา?  ท่านได้กล่าวว่า  แท้จริงผู้ชายคนหนึ่งเมื่อมีคนเขาบ้านเขารับประทานอาหารของเขา ดื่มเครื่องดื่มของเขา ต่อมาพวกเขานั้นได้ขอพรให้แก่เขา  นั่นแหละคือการตอบแทนให้เขา

โดยอบูดาวูด

สุนัตแก่แขกที่ถูกเชิญให้ของพรแก่เจ้าของอาหารให้ได้รับความเพิ่มพูน

และท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้รับประทานขนมปังกับน้ำมันมะกอกที่(บ้าน) ท่าน สะอัด บุตร อุบาดะห์ เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ท่านได้กล่าวว่า ผู้ถือศีลอดได้ละศีลอดที่พวกท่านและคนดีๆ ด้รับประทานอาหารของพวกทาน และ มวล มะลาอิกะห์ ได้ขอพรให้พวกท่าน

โดย อบูดาวูด

หมายความว่า ขอพระองค์อัลเลาะห์  ได้โปรดบันดาลให้พวกท่าน ได้ทำหน้าที่เช่นนี้ ตลอดป และได้รับการขออภัยโทษจากมวลมะลาอิกะห์


อ.อรุน

การทำบุญบ้านผู้ตายที่พี่น้องมุสลิมบ้านเราปฏิบัติกันต่อๆมาตามโต๊ะกีโต๊ะวังนั้นถือเป็นสิ่งที่ดีงามชี้ถึงความรักใคร่ที่พวกเรามีให้กัน โดยที่พวกเราชาวอะลุสซุนนะฮ์วั้ลญะมาอะฮ์จะรวมตัวกันเพื่ออ่านอัลกุรอ่าน ทำซิกรุ้ลลอฮฺ ขอดุอาอฺ ขออภัยโทษอิสติฆฟารให้แก่ผู้ตาย และมีการช่วยครอบครัวมัยยิด(ครอบครัวผู้ตาย)ทำอาหารเลี้ยง เพื่อเป็นทานซอดาเกาะฮ์แก่มัยยิดของพวกเขาเท่านั้นเองครับ ‪#‎ไม่ใช่ไปรวมตัวกันไว้อาลัย‬ รวมตัวกันเพื่อทำการปลอบใจ แล้วก็ให้ครอบมัยยิดทำอาหารเลี้ยงเพื่อสิ่งดังกล่าว หรือพวกเราได้ไปรุมกินที่บ้านมัยยิดเหมือนอีแร้งอีการุมกันกินซากสัตว์ดั่งที่กลุ่ม ‪#‎วะฮาบีย์คณะใหม่ใส่ร้ายพวกเราเลย‬ ดังนั้น สิ่งที่พี่น้องมุสลิมเมืองไทยปฏิบัติกัน ไม่ใช่อื่นใด นอกจากเพื่อเป็นผลประโยชน์แก่มัยยิด ซึ่งมีที่มาจากอัซซุนนะฮ์ของท่านนะบีย์และเหล่าบรรดาอุลามาอฺของอะลุสซุนนะฮ์วั้ลญะมาอะฮ์ ‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬‬

ได้มีหะดิษที่สืบสายรายงานที่ศอฮิห์ ได้รายงานจาก ท่าน อาศิม บิน กุลัยบ์ จากบิดาของเขา จากผู้ชายคนหนึ่งจาก ชาวอันศอร กล่าวว่า
" เราได้ออกไปพร้อมกับท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ ศ็อลลั้ลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในญะนาซะฮ์(คนเสียชีวิตคน)หนึ่ง ดังนั้น ฉันได้เห็นท่านร่อซูลุลลอฮฺ(ศ.ล.) อยู่ที่กุบูร โดยกำลังกล่าวกำชับกับผู้ขุดหลุมว่า "ท่านจงขุดช่วงสองเท้าของมัยยิดให้กว้างหน่อย และท่านจงขุดหลุมช่วงศรีษะของมัยยิด(ผู้ตาย)ให้กว้างหน่อย " ดังนั้น ขณะที่ท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺได้เดินทางกลับ ผู้เชิญชวนจาก(เจ้าภาพ)ของภรรยามัยยิด ได้เชิญกับท่านร่อซูล(ไปรับประทานอาหาร) ดังนั้น ท่านร่อซูลุลอฮฺก็ทรงตอบรับคำเชิญ โดยที่พวกเราก็อยู่พร้อมกับท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ แล้วอาหารก็ถูกนำมาเสริฟ ท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺจึงได้ยื่นเมือไปรับประทานและบรรดากล่มผู้คน(ศ่อฮาบะฮ์)ก็ยืนมือไป แล้วพวกเขาทำการรับประทาอาหาร....(จนจบหะดีษ) "

หะดิษนี้ ‪#‎ศอฮิห์‬ ซึ่งรายงานโดย ท่านอิหม่ามอบูดาวูด และท่านอัลบัยหะกีย์ รายงานไว้ใน ดะลาอิล อันนุบูวะฮ์ / ดู หนังสือ (หะดิษ) มิชกาฮ์ อัลมะซอบีหฺ เล่ม 3 หน้า 194 ของท่าน อัตติบรีซีย์ ตีพิมพ์ อัลมักตับ อัลอิสลามีย์ ‬‬‬‬‬‬‬‬

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ปราชญ์หะดีษอันเลื่องลือได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมัจญฺมั๊วะของท่านว่า

أجمع المسلمون على أن الصدقة عن الميت تنفعه وتصله

"บรรดามุสลิมีน ได้อิจญฺมติว่า การทำทานแก่มัยยิดนั้น ย่อมเป็นประโยชน์แก่มัยยิดและผลบุญถึงกับมัยยิด" ดู มัจญฺมั๊วะ เล่ม 5 หน้า 209



ท่าน อิบนุ กุดามะฮ์ กล่าวไว้ในหนังสือมุฆนีย์ของท่านว่า

[ ص: 225 ] فصل : وأي قربة فعلها , وجعل ثوابها للميت المسلم , نفعه ذلك , إن شاء الله , أما الدعاء , والاستغفار , والصدقة , وأداء الواجبات , فلا أعلم فيه خلافا , إذا كانت الواجبات مما يدخله النيابة , وقد قال الله تعالى : { والذين جاءوا من بعدهم يقولون ربنا اغفر لنا ولإخواننا الذين سبقونا بالإيمان } . وقال الله تعالى : { واستغفر لذنبك وللمؤمنين والمؤمنات }

" ไม่ว่าอิบาดะฮ์ใด ที่ทำมันขึ้นมา และทำการมอบผลบุญของมันให้แก่มัยยิดมุสลิมนั้น ดังกล่าวย่อมได้รับผลประโยชน์กับมัยยิด อินชาอัลลอฮฺ สำหรับการขอดุอาอฺ อิสติฆฟาร การทำทาน และการปฏิบัติสิ่งที่วายิบ เมื่อมันเป็นสิ่งวายิบสามารถทำแทนกันได้ (เช่นทำฮัจญฺแทนมัยยิด) ดังนั้น ฉันจึงไม่ทราบเลยว่า ในกรณีดังกล่าวนั้น มีการขัดแย้งกันเลย เพราะอัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า "และบรรดาบุคคลที่มาหลังจากพวกเขานั้น พวกเขาก็จะกล่าวว่า โอ้ ผู้อภิบาลของเรา พระองค์โปรดอภัยให้แก่เรา และแก่บรรดาพี่น้องของเรา ศรัทธาผ่านมาก่อนเราแล้ว " และพระองค์ทรงตรัสอีกว่า "ท่านจงขออภัยโทษให้กับบาปของเจ้า และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหญิงและชาย" ดู หนังสือ มุฆนีย์ ของท่านอิบนุกุดามะฮ์ เล่ม 3 หน้า 369

ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าวอีกว่า

وروى عمرو بن شعيب , عن أبيه , عن جده , { أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال لعمرو بن العاص : لو كان أبوك مسلما , فأعتقتم عنه , أو تصدقتم عنه , أو حججتم عنه , بلغه ذلك } . وهذا عام في حج التطوع وغيره , ولأنه عمل بر وطاعة , فوصل نفعه وثوابه , كالصدقة والصيام والحج الواجب

"รายงาน โดยอัมร์ บิน ชุอัยบ์ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา ว่า แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ศ.ล.) กล่าวแก่ อัมร์ บิน อัลอาซ ว่า หากบิดาของท่านเป็นมุสลิม แล้วพวกท่านก็ทำการปล่อยทาสแทนให้กับเขา หรือทำการทานให้แก่เขา หรือทำฮัจญฺแทนจากเขา แน่นอนว่า ดังกล่าวย่อมไปถึงเขา " หลักฐานนี้ ย่อมครอบคลุมถึงเรื่องทำฮัจญฺสุนัตและอื่นๆ และเพราะว่า มันเป็นการปฏิบัติในเรื่องความดีงาม และการภักดี ดังนั้น ‪#‎ผลบุญและผลประโยชน์ย่อมไปถึงมัยยิด‬ เช่นการทำทาน การถือศีลอด การทำฮัจญฺวายิบ " ดู หนังสือ มุฆนีย์ เล่ม 3 หน้า 372 ‬‬‬‬‬‬‬‬



3.ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าวโดยชัดเจนและตรงประเด็นอีกว่า

وأنه إجماع المسلمين ; فإنهم في كل عصر ومصر يجتمعون ويقرءون القرآن , ويهدون ثوابه إلى موتاهم من غير نكير

" แท้จริง มันเป็น ‪#‎มติของบรรดามุสลิมีน‬ เนื่องจากแท้จริง พวกเขาเหล่านั้น ในทุกสมัยและทุกเมือง ก็ได้รวมตัวกัน และทำการอ่านอัลกุรอานกัน และก็ทำการฮาดิยะฮ์ผลบุญการอ่านอัลกุรอาน ให้แก่บรรดาผู้ตายของพวกเขา โดยที่ไม่ได้รับการตำหนิแต่ประการใด" ดู หนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่ม 3 หน้า 373 ‬‬‬‬‬‬‬‬


อ. รอสิดี

จาก อัลดิลลาฮ์ บิน ยะอ์ฟัร “ ท่านทั้งหลายจงจัดทำอาหารให้แก่ญาติของยะอ์ฟัร (ที่ถึงแก่กรรม)
เพราะว่า พวกเขานั้นได้มีสิ่งที่สร้างความกังวล เข้ามาประสบแก่พวกเขา " (สิ่งนั้นคือความตายของยะฟัร) จึงต้องนำอาหารไปเลี้ยงพวกเขาเสีย) ...............
โดย อะหมัด และท่านอื่นๆ
เมื่อมีเพื่อนบ้านตาย จึงควรจัดหาอาหารไปให้ครอบครัวของผู้ตาย และช่วยจัดหาหุงอาหารเลี้ยงดูพวกเขาในช่วงที่พวกเขากำลังทุกข์ตรมในการจากไปของผู้ตาย สำหรับประเพณีบ้านเรา เมื่อมีคนตาย ต่างคนต่างก็นำข้าวสาร มะพร้าว ไก่ สตางค์ ละอื่นๆ ไปบ้านคนตาย แล้วช่วยกันจัดหาหุง เป็นประเพณี ตอบสนองหะดิษนี้โดยแท้ จึงควรรักษาไว้ให้ดีงามอย่าเพิกเฉยละเลยเป็นอันขาด!    อ.มัรวาน


และ

Bashir Chalermthai ในอัลฮาวี ลิลฟะตะวี่ของอีหม่ามอัซซะยูตีได้บอกถึงฮะดีษและชาวสลัฟครับ


แก้ไขล่าสุดโดย Profile เมื่อ Thu Dec 25, 2014 3:53 pm, ทั้งหมด 6 ครั้ง
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

เมื่อมีคนในครอบครัวของนางได้เสียชีวิต บรรดาสตรีก็จะมารวมตัวกัน Empty Re: เมื่อมีคนในครอบครัวของนางได้เสียชีวิต บรรดาสตรีก็จะมารวมตัวกัน

ตั้งหัวข้อ by Profile Sun Jul 27, 2014 1:52 pm

จาก ยาบีร ไม่ว่ากลุ่มชนใดก็ตาม ที่ได้รวมตัวกัน หลังจากนั้นพวกเขาได้แยกย้ายกันไป โดยไม่มีการซิกริลละฮ์

และไม่มีการซอลาหวาดแก่ท่านนบี นอกจากพวกเขาได้ยืนขึ้นจากสิ่งเหม็นที่สุดกว่าซากสัตว์ตาย

(เปรียบเทียบให้เห็นชัดว่า สถานที่รวมตัวกันที่ไม่มีการระลึกถึงอัลลอฮ์และปราสาทพรแก่ท่านนบีนั้น เป็นสถานที่(ล้อม)ซากอันเหม็นยิ่งกว่าซากสัตว์เสียอีก)

โดย อัตตอยาลิซีย์
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

เมื่อมีคนในครอบครัวของนางได้เสียชีวิต บรรดาสตรีก็จะมารวมตัวกัน Empty Re: เมื่อมีคนในครอบครัวของนางได้เสียชีวิต บรรดาสตรีก็จะมารวมตัวกัน

ตั้งหัวข้อ by Profile Sun Dec 14, 2014 5:20 pm

ทำบุญถึงคนตาย
 
          ปัญหาหนึ่งที่อยู่ในความสนใจของประชาชนมาเป็นเวลานานแล้ว และยังคงเป็นปัญหา
คาใจของใครบางคนอยู่ก็คือ การทำบุญให้คนตาย จะถึงคนตายไหม ? อ่านอัลกุรอาน ให้คน
ตายได้ไหม และอีกมากมายหลายคำถามที่เกี่ยวข้องกัน  เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวคลี่คลายลงไป
ในทางที่ดี ในทางที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจและสร้างสรรค์ จึงขอนำปัญหาดังกล่าว มาตีแผ่ให้
เห็นถึงแนวทรรศนะต่างๆของนักวิชาการที่มีต่อปัญหาดังกล่าวว่าสำนักใดมีทรรศนะว่าอย่างไร
 
      รู้แล้วจะได้เกิดความสบายใจไม่ต้องมาถกเถียงกันให้เสียเวลา เพื่อจะได้มีเวลาเหลือไปทำ
ความดีอย่างอื่น การนำเสนอปัญญานี้ไม่ได้มีเจตนาจะใช้เป็นเครื่องมือทิ่มตำฝ่ายใด เพียงแต่มี
เจตนาเผยแพร่ข้อมูลในปัญหานี้เท่านั้น.
 
อิบาดะห์ประเภทต่าง ๆ
 
          อิบาดะห์ที่ศาสนาใช้ให้มุสลิมปฏิบัตินั้นจำแนกออกได้เป็นสามประเภทกล่าวคือ :
 

  • อิบาดะห์ที่เกี่ยวกับร่างกายเพียงอย่างเดียว  เช่นละหมาด การถือศีลอด การเอียะอ์ติกาฟ การอ่านอัลกุรอาน และการซิกรุ้ลเลาะห์


 

  • อิบาดะห์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว เช่นซะกาต และซอดาเกาะห์


 
 

  • อิบาดะห์ ที่ผสมกันทั้งร่างกายและทรัพย์สินคือฮัจญ์ (ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินคือเสบียง


 และ ยานพาหนะ ในส่วนที่เกี่ยวกับร่างกายก็คือ การวุกูฟ การตอวาฟ การสะแอ และการ
ขว้างเสาหิน) เป็นต้น
 
 
แนวทางของมัซฮับต่างๆ

มัซฮับฮานาฟีและอัมบาลี
อนุญาตให้ยกผลบุญของอะมั้ล(ความดี)ที่ตนทำให้แก่ผู้อื่นได้ โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ไม่ว่า
จะเป็นอิบาดะห์ที่เกี่ยวกับร่างกาย หรือเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือผสมกันระหว่างร่างกายกับ
ทรัพย์สิน.
 
          มีระบุในตำราของมัซฮับฮานาฟี (เช่นอัซซัยละอีย์, อัลบะฮร์, อัลฮิดายะห์ และฟัตฮุ้ลกอ
ดีร) ว่าคนที่ทำอิบาดะห์ ไม่ว่าจะเป็นละหมาด การถือศีลอด   การจ่ายซะกาต การอ่านอัลกุรอาน
การซิกรุ้ลเลาะห์
 
          การตอวาฟ ทำพิธีฮัจญ์ ทำพิธีอุมเราะห์ หรือความดีอย่างอื่น อนุญาตให้เขายกผลบุญ
ของอิบาดะห์เหล่านั้นให้แก่ผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีชีวิตอยู่หรือล่วงลับไปแล้วก็ตาม และผล
บุญของการทำอิบาดะห์นั้นก็จะถึงผู้ที่ถูกยกให้ และไม่มีข้อแตกต่างกันระหว่างคนที่ตั้งเจตนา
(เนียต)ขณะทำความดีนั้นว่าทำให้แก่ผู้อื่นหรือทำเพื่อตัวเอง แล้วหลังจากนั้นจึงยกผลบุญให้แก่
ผู้อื่น..
 
          ระบุอยู่ในตำรา อัลมุฆนีย์ ของอิบนุกุดามะห์ ของ มัซฮับฮัมบะลีว่า  ความดีใดๆ ที่มนุษย์
ได้กระทำ และยกผลบุญของการกระทำนั้นให้แก่ผู้ตายที่เป็นมุสลิม  การกระทำดังกล่าวนั้นเป็น
ประโยชย์แก่ผู้ตายด้วยพระประสงค์ของอัลเลาะห์ ตาอาลา.. อิบนุ้ลกอยยิม นักวิชาการ
ของมัซฮับฮัมบาลี     ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านชื่ออัรรูฮ์ว่า : ( สิ่งประเสริฐที่สุดที่จะยก
ให้แก่ผู้ตายก็คือ   การทำซอดาเกาะห์  การขออภัยโทษ(อิสติฆฟาร) และการขอดุอาอ์ให้แก่
ผู้ตาย  และการทำฮัจญ์แทนให้ผู้ตาย  ส่วนการอ่านอัลกุรอานและยกผลบุญการอ่านนั้นให้แก่
ผู้ตายโดยสมัครใจไม่มีค่าจ้างตอบแทน การกระทำนี้ผลบุญจะไปถึงผู้ตาย เช่นเดียวกับผลบุญ
ของการถือศีลอดและฮัจญ์ก็จะไปถึงผู้ตาย) ….
 
 
 
 
มัซฮับชาฟิอีและมาลิกี :
          ส่วนมัซฮับชาฟิอีและมาลิกีนั้นทรรศนะที่แพร่หลายของพวกเขามีว่า อิบาดะห์ที่เกี่ยวกับ
ร่างกายอย่างเดียวเช่นละหมาด การถือศีลอด และการอ่านอัลกุรอาน ผลบุญของอิบาดะห์นี้จะ
ไม่ถึงผู้ตาย  ต่างกับอิบาดะห์อื่นๆ เช่นอิบาดะห์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินอย่างเดียว เช่นซะกาตและ
การทำซอดาเกาะห์ หรืออิบาดะห์ที่ผสมกันระหว่างร่างกายกับทรัพย์สินเช่นฮัจญ์ ผลบุญของ
อิบาดะห์ประเภทนี้จะถึงผู้ตาย.
 
 
 
 
 
นักวิชาการยุคหลัง
ของมัซฮับชาฟิอีและมาลิกี
แต่นักวิชาการยุคหลังของทั้งสองมัซฮับ ได้เลือกเอาแนวทางที่ว่า ผลบุญของอิบาดะห์
ทุกชนิดจะไปถึงผู้ตาย เช่นการอ่านอัลกุรอานเป็นต้น, ประโยชน์ของการอ่านอัลกุรอาน
อาจเกิดจากผลบุญของการอ่านอัลกุรอานไปถึงผู้ตาย หรือบะรอกะห์(ความดีที่เพิ่มพูน)
ของการอ่านไปถึง.
 
          ส่วนพวกมัวะอ์ตะซิละห์ (พวกที่มีความคิดนอกรีตในศาสนาอิสลาม) มีทรรศนะว่า ไม่
ยินยอมให้ใครยกผลบุญจากการทำ (อะมั้ล) ความดีของตนให้แก่ผู้อื่นโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ไม่ว่า
จะเป็นอิบาดะห์ที่เกี่ยวกับร่างกายหรือทรัพย์สินหรือที่ผสมกันจากร่างกายและทรัพย์สิน. มัซฮับ
มัวะอ์ตะซิละห์  มีทรรศนะที่ต่างกับมัซฮับฮานาฟี และต่างกับกลุ่มที่มีทรรศนะตรงกับมัซฮับ
ฮานาฟี ที่เป็นอะห์ลิซซุนนะห์.
 
หลักฐานของพวกมัวะอ์ตะซิละห์ :
 
          พวกมัวะอ์ตะซิละห์  อ้างหลักฐานเรื่องนี้ด้วยคำดำรัสของอัลเลาะห์ตาอาลาที่ว่า :
 
 
" มนุษย์จะไม่ได้รับอะไร นอกจากสิ่งที่เขาได้ทำไว้เท่านั้น "
 
พวกมัวะอ์ตะซิละห์ได้กล่าวในการใช้อายะห์นี้มาอ้างเป็นหลักฐานว่า : อัลเลาะห์ ผู้ทรง
ยิ่งใหญ่และเกรียงไกร ได้บอกไว้ในอายะห์นี้ว่า มนุษย์จะไม่ได้รับอะไรนอกจากสิ่งที่เขา
ได้พากเพียรเอาไว้และเป็นผลงานของเขา ส่วนการพากเพียรของผู้อื่น ไม่ใช่เป็นการ
พากเพียรและผลงานของเขา.
 
 
 
การโต้ตอบกับพวกมัวะอ์ตะซิละห์ด้วยหลักฐาน :
 
พวกมัวะอ์ตะซิละห์ ถูกโต้ตอบด้วยข้อความที่ท่านกามาล บุตร ฮัมมาม กล่าวไว้ใน
หนังสือของเขาชื่อฟัตฮุ้ลกอดีร (ในบทที่ว่าด้วยเรื่องการทำฮัจญ์แทนให้แก่ผู้อื่น) ว่า :
 
ความหมายของอายะห์ที่ว่า " มนุษย์จะไม่ได้รับอะไรนอกจากสิ่งที่เขาได้ทำไว้เท่านั้น "
หมายถึง " ในกรณีที่ผู้ทำความดีไม่ได้ยกผลบุญให้แก่ผู้อื่น " แต่ถ้าหากเขาทำความดี
แล้วเขาได้ยกความดีนั้นให้แก่ผู้อื่น  ความดีนั้นก็จะไปถึงผู้ที่เขายกให้ ทั้งนี้เพราะมี
ฮะดีษซอเฮียะฮ์ที่รายงานโดยบุคอรีและมุสลิมว่า:
 
 
ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล) ได้เชือดแกะสองตัวที่มีสีขาวมีขนดำแซม เป็นอุดฮียะห์
(กุรบาน) โดยตัวหนึ่งท่านทำเพื่อตัวท่านเอง อีกตัวหนึ่งท่านทำแทนให้แก่
ประชาชาติของท่าน ..
 
ฮะดีษนี้ท่านนบีได้ทำความดีแทนให้แก่ประชาชาติของท่าน การกระทำของท่านนบีชี้ว่า
สามารถยกความดีให้แก่ผู้อื่นได้.
 
ฮะดีษนี้มีซอฮาบะห์หลายท่านได้รายงานและมีนักวิชาการฮะดีษได้นำออกเผยแพร่
หลายสาย และทุกสายรายงานก็จะมีข้อความตรงกันว่า ท่านนบี(ซ.ล) ได้เชือดสัตว์อุดฮียะห์
(กุรบาน) แทนให้แก่ประชาชาติของท่าน จนข้อความนี้เป็นที่แพร่หลายและรู้กันทั่วไป และ
สามารถที่จะนำไปเป็นเงื่อนไขของอายะห์ที่กล่าวมาแล้วได้. นอกจากนั้นก็ยังมีฮะดีษอีกหลาย
ฮะดีษที่ชี้ว่าเมื่อทำความดีแล้วสามารถยกให้แก่คนอื่นได้เช่นฮะดีษที่รายงานโดยดารุกุตนีว่า :
 
มีชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี (ซ.ล) แล้วถามขึ้นว่า : ฉันมีบิดามารดาที่ฉันได้เคย
ปรนนิบัติเขาทั้งสองขณะที่เขาทั้งสองมีชีวิตอยู่  แล้วฉันจะทำความดีให้แก่เขาทั้งสอง
ได้ไหมภายหลังจากเขาทั้งสองเสียชีวิตไปแล้ว ? ท่านนบี(ซ.ล) ได้ตอบเขาว่า :
 "แท้จริงการทำความดีให้แก่บิดามารดาภายหลังจากตายไปแล้วคือการที่ท่านละหมาด
ให้แก่เขาทั้งสองพร้อมกับการละหมาดของท่าน  และท่านถือศีลอดให้แก่เขาทั้งสอง
พร้อมกับการถือศีลอดของท่าน " ..
 
และฮะดีษที่ดารุกุตนีได้รายงานไว้อีกเช่นกันจากอิหม่ามอะลี (กัรร่อมั้ลลอฮุวัจฮะฮ์) จาก
ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล) ได้กล่าวว่า :
 
 
" ผู้ใดผ่านสุสานและเขาได้อ่าน "กุ้ลฮุวั้ลลอฮุอะฮัด" สิบเอ็ดจบ แล้วยกผลบุญ
การอ่านให้แก่คนตาย  เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับจำนวนคนตาย " ..
 
และฮะดีษที่รายงานจากท่านอะนัส บุตร มาลิก (ร.ด) ว่า :
 
 
 
" เขาได้ถามท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล)ว่า : โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ : พวกเราจะทำ
ทาน (ซอดาเกาะห์) แทนคนตายของพวกเราได้ไหม, และเราจะทำฮัจญ์แทนพวกเขา
และขอดุอาอ์ให้พวกเขาได้ไหม ?  และผลบุญการทำเช่นนั้นจะไปถึงพวกเขาไหม ?
ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ตอบว่า : " ถูกแล้วมันจะไปถึงพวกเขา และความจริงพวกเขาจะดีใจ
กับสิ่งที่ได้รับ เหมือนที่คนใดจากพวกท่านดีใจที่มีผู้นำถาดอาหารมามอบให้แก่เขาเป็น
ของขวัญ " ..
 
และฮะดีษที่ว่า :
 
" ท่านทั้งหลายจงอ่านซูเราะห์ยาซีนให้แก่คนตายของพวกท่าน "   (รายงานโดย
อะบูดาวูด)
 
ตัวบทเหล่านี้แม้จะมีตัวบทหลากหลายแต่มีเนื้อหาตรงกันที่ว่า" ผู้ใดที่ยกความดีของตน
ให้แก่ผู้อื่น ผลบุญของมันก็จะไปถึงผู้ที่ถูกยกให้ และอัลเลาะห์ก็จะให้เขาได้รับประโยชน์
ด้วยความดีนั้น ".. ซึ่งเนื้อหาตรงจุดนี้ถึงขั้นเป็นมุตะวาติร (คือมีผู้รายงานมากในแต่ชั้น
ของสายรายงาน)
 
และในอัลกุรอานก็มีคำบัญชาจากอัลเลาะห์ให้ขอดุอาอ์แก่บิดามารดา ดังปรากฏในคำ
ดำรัสที่ว่า :
 
" และท่านจงกล่าวว่า ข้าแด่องค์อภิบาลของฉันได้โปรดเมตตาบิดามาดา
 เหมือนกับที่เขาทั้งสองได้ดูแลฉันมาตั้งแต่เยาวัย "
 
และอัลกุรอานยังได้บอกกล่าวถึงเรื่องที่มะลาอิกะห์วิงวอนขออภัยโทษให้แก่พวกที่มี
ศรัทธา ในคำดำรัสของอัลเลาะห์ ตาอาลาในซูเราะห์ ฆอฟิรว่า :
 
" บรรดามะลาอิกะห์ที่แบกอะรัช (บัลลังก์) ของอัลเลาะห์ และมะลาอิกะห์ที่อยู่
รายรอบ  อะรัชกล่าวถวายความบริสุธิ์ พร้อมด้วยสรรเสริญองค์อภิบาลของพวกเขา
 และศรัทธาต่อพระองค์ และพวกเขาวิงวอนขออภัยโทษให้แก่พวกที่มีศรัทธาว่า ข้าแด่
องค์อภิบาลของเราความเมตตาและความรู้ของพระองค์แผ่ไพศาลทั่วทุกสิ่ง ขอได้โปรด
อภัยโทษให้แก่พวกที่สำนึกผิด และปฏิบัติตามแนวทางของท่าน และโปรดปกป้องพวก
เขาให้พ้นจากการลงโทษในนรกที่ร้อนแรง ข้าแด่องค์อภิบาลของเรา และขอได้โปรดให้
พวกเขาได้เข้าสู่สวรรค์ อัดน์ ซึ่งท่านได้สัญญาไว้กับพวกเขา และแก่ผู้ที่มีคุณธรรมจาก
บรรพบุรุษของพวกเขา คู่ครองของพวกเขา และลูกหลานของพวกเขา แท้จริงท่านเป็น
ผู้ทรงเดชานุภาพ ทรงหยั่งรู้  และได้โปรดปกป้องพวกเขาให้พ้นจากความชั่วร้าย และ
ผู้ใดที่ท่านปกป้องเขาให้พ้นจากความชั่วร้ายในวันนั้น แน่นอนท่านก็ได้ให้ความเมตตา
แก่เขาแล้ว และนั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่ "  (ฆอฟิร : 7-9)
 
ในซูเราะห์ อัชชูรอ อัลเลาะห์ตาอาลาตรัสว่า :
 
" และมวลมะลาอิกะห์ จะกล่าวถวายความบริสุธิ์ พร้อมด้วยสรรเสริญองค์อภิบาล
ของพวกเขา และวิงวอนขออภัยโทษให้แก่ผู้ที่อยู่ในผืนแผ่นดิน พึงทราบเถิดว่า
แท้จริงอัลเลาะห์นั้นพระองค์ทรงอภัยยิ่งอีกทั้งทรงเมตตายิ่ง "
 
อายะห์เหล่านี้เป็นหลักฐานที่เด็ดขาดว่า มีการได้รับประโยชน์จากการกระทำของผู้อื่น
 ซึ่งขัดกับอายะห์ที่พวกมัวะอ์ตะซิละห์ได้ยกมาเป็นหลักฐาน หลังจากนั้นท่านกามาล บุตร
ฮัมมาม ยังได้กล่าวอีกว่า : การที่เราสามารถหักล้างทรรศนะของพวกมัวะอ์ตะซิละห์ลงได้ด้วย
หลักฐานที่นำมานั้น มันก็เท่ากับเป็นการปฏิเสธทรรศนะของชาฟิอีและมาลิกี (รอฮิมะฮุมั้ลลอฮ์)
ไปด้วยในที ซึ่งทรรศนะของอิหม่ามทั้งสองกล่าวว่า ความดีที่เกี่ยวกับร่างกายนั้นจะยกให้ผู้อื่น
ไม่ได้ เพราะมีหลัก ฐานจากฮะดีษต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วที่มีเนื้อความต้องกันว่าเมื่อทำความดี
แล้วสามารถยกให้แก่คนอื่นได้ ...
 
 
และพวกมัวะอ์ตะซิละห์ยังได้ยกฮะดีษมาเป็นหลักฐานสนับสนุนทรรศนะของพวกเขาที่ว่า
จะยกผลบุญของความดีที่ทำไว้ให้แก่ผู้อื่นไม่ได้ด้วยฮะดีษที่ว่า :
 
" เมื่อมนุษย์ที่เป็นลูกหลานของอาดัมเสียชีวิตลง การทำความดีของเขาก็ขาด
ตอนลง ยกเว้นสามประการคือ การอุทิศถาวรวัตถุไว้ (วะกัฟ), หรือวิชาการที่มี
ประโยชน์, หรือบุตรที่มีคุณธรรมวิงวอนขอดุอาอ์ให้เขา " ...
 
พวกมัวะอ์ตะซิละห์กล่าวในการอ้างหลักฐานของพวกเขาว่า : ท่านนบี (ซ.ล) บอกว่าคน
ตายจะได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เขาเป็นผู้ก่อไว้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ และสิ่งใดที่เขาไม่ได้
ก่อไว้ มันก็ขาดตอนไปจากเขา.
 
การโต้ตอบพวกมัวะอ์ตะซิละห์ ในการนำเอาหะดีษนี้มาเป็นหลักฐานก็คือ : ท่านนบี
 (ซ.ล) ไม่ได้กล่าวว่า : การรับประโยชน์ของคนตายขาดตอนลง, แต่ท่านกล่าวว่า : การทำ
ความดีของเขาขาดตอนลง,  ส่วนการทำความดีของคนอื่น ก็ตกเป็นของผู้ที่กระทำ ดังนั้นถ้า
หากเขายกความดีนั้นให้แก่ผู้ตาย ผลบุญจากความดีของผู้ที่ทำก็จะไปถึงคนตาย ซึ่งมันไม่ใช่ผล
บุญจากการกระทำของคนตาย, สิ่งที่ขาดตอนนั้นคือการกระทำของคนตาย เพราะเมื่อเขาตาย
เขาจะทำความดีอะไรเองอีกไม่ได้แล้ว  ส่วนสิ่งที่ไปถึงคนตายนั้นคือผลบุญที่เกิดจากการกระทำ
ของคนอื่นที่ยกให้เขา.
 
 
สรุปเรื่องการทำความดีแล้วยกผลบุญให้แก่คนตาย มีสามมัซฮับ
 

  • มัซฮับฮานาฟี, ฮัมบาลี และทรรศนะนักวิชาการของมัซฮับมาลิกีและชาฟิอีในยุค


หลังที่มีความเห็นเหมือนกับมัซฮับฮานาฟี และฮัมบาลีกล่าวว่า:
 
ผลบุญของความดีจากการกระทำของคนอื่นนั้นจะไปถึงคนตาย โดยไม่คำนึงว่าความดี
นั้นจะเป็นอิบาดะห์ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายอย่างเดียว หรือเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินอย่างเดียว หรือ
เป็นอิบาดะห์ที่ผสมกันระหว่างร่างกายและทรัพย์สิน.
 
2-      มัซฮับมัซฮับมัวะอ์ตะซิละห์ กล่าวว่า :
ผลบุญไม่ถึงคนตายไม่ว่าจะเป็นอิบาดะห์ประเภทใดก็ตาม.
 
3-   มัซฮับมาลิกีและซาฟิอี  ตามทรรศนะที่แพร่หลายของพวกเขา ที่แยกรายละเอียด
ในเรื่องอิบาดะห์ โดยกล่าวว่า :
 
ถ้าหากเป็นอิบาดะห์ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายอย่างเดียว ผลบุญของอิบาดะห์นั้นจะไม่ถึงคน
ตาย, แต่ถ้าหากอิบาดะห์นั้นเป็นประเภทที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว หรือเป็น
อิบาดะห์ที่ผสมกันระหว่างทรัพย์สินกับร่างกาย ผลบุญของอิบาดะห์ประเภทนี้จะไปถึงคนตาย.
 
ส่วนแนวทางที่มีน้ำหนักและถูกเลือกว่าเป็นทรรศนะที่ดีคือ มัซฮับที่หนึ่ง เพราะมี
หลักฐานที่มีน้ำหนักและแข็งแรงสนับสนุน .. และเป็นแนวทางที่ได้รับการปฏิบัติ
มาตั้งแต่ยุคของสะลัฟ(คือยุคของคนดีที่ท่านนบี (ซ.ล) รับรองไว้เป็นเวลาสามร้อยปี)
และได้ปฏิบัติมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้.
 
ข้อมูลจากหนังสือ: อัลฮะยาฮ์ อัลบัรซะคียะห์   ของมุฮำหมัด อับดุซซอฮิร คอลีฟะห์ โดย
เรียบเรียงให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น.
 
หารายละเอียดเพิ่มเติมได้อีกในหนังสือ อัลอะกีดะห์   อัตตอฮาวียะห์  ตั้งแต่หน้า  511
ถึงหน้า  518

http://www.miftahcairo.com/index.php/welcome/85-quran/3/153-2011-07-16-01-22-56


http://group.wunjun.com/satunmuslim/topic/254685-6799
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ