เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

คอลลาเจน คืออะไร?

Go down

คอลลาเจน คืออะไร? Empty คอลลาเจน คืออะไร?

ตั้งหัวข้อ by Profile Thu May 14, 2015 11:24 am

คอลลาเจน คืออะไร?
          เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างใหญ่ สามารถพบได้ทุกส่วนของร่างกาย ทำหน้าที่เสมือนกาวยึดโครงสร้างต่างๆเข้าด้วยกัน และยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างเส้นเลือดและเนื้อเยื่อ
คอลลาเจนสกัดมาจากไหน?
          คอลลาเจนที่ใช้ในอาหารส่วนใหญ่จะผลิตจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของสัตว์(วัวหรือ หมู)เช่น ไขข้อกระดูกข้อต่อ, กระดูกอ่อน, เอ็น,หนัง,กระดูก (bone, cartilage,ligament,tendon, and other connective tissue.) นอกจากนี้ก็ยังมีคอลลาเจนทผลิตจากหนังปลาทะเลน้ำลึกหรือปลาหมึก
การผลิตคอลลาเจนทำกันอย่างไร?
         การ ผลิตคอลลาเจนใช้อุณหภูมิสูงๆไม่ได้ เพราะจะทำให้มันสลายตัวไปเป็นเจลาติน จึงต้องใช้อุณหภูมิต่ำ(ไม่เกิน 37 องศาเซลเซียส), ย่อยสลายด้วยเอนไซม์หรือกรดด่างอ่อนๆ และแยกด้วยการกรอง
คอลลาเจนใช้ทำอะไร?
          ปัจจุบัน มีการใช้ประโยชน์จากคอลลาเจนอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารและยา เช่น เป็นวัตถุดิบในการผลิตไส้สังเคราะห์ (collagen casing)สำหรับไส้กรอก,ผลิตฟิล์มเคลือบอาหาร, ผลิตคอนแทกเลนส์
ชนิดอ่อน, ฯลฯ
          ใน วงการแพทย์ใช้ลดอาการอักเสบของผิวหนัง , ทำเป็นไหมละลายในการผ่าตัด,ใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, ใช้เป็นสารบุร่องเหงือก  ผ่าตัดตกแต่งผิวหนังและชะลอความแก่หรือ  ลดรอยเหี่ยวย่นของผิวหนัง ฯลฯ  ใช้ ในเครื่องสำอางเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง โดยใช้คอลลาเจนจากวัวเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่  แชมพู, ครีมนวดผม, ครีมอาบน้ำ, โลชั่น, ครีมล้างหรือทาหน้า, ครีมบำรุงผิว, ลิปสติก ฯลฯ
คอลลาเจนหะล้าลหรือหะรอม ?
          คอลลาเจนจากหนังปลาหรือสัตว์ทะเลรวมทั้งวัวที่ฆ่าอย่างถูกต้องตามหลักการอิสลาม (ซะบีหะฮฺ)นั้นหะล้าล  ส่วนคอลลาเจนจากวัว(ที่ไม่ได้เชือดอย่างถูกต้อง)หรือหมู - ไม่แน่ใจ ยังหาฟัตวา เกี่ยวกับคอลลาเจนตรงๆ ที่น่าเชื่อถือไม่ได้

จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการและประชาสัมพันธ์


 
المراهم والكريمات ومواد التجميل التي يدخل في تركيبها شحم الخنزير لا يجوز استعمالها إلا إذا تحققت فيها استحالة الشحم وانقلاب عينه . أما إذا لم يتحقق ذلك فهي نجسة
 

ในการประชุมองค์กรวิทยาศาสตร์การแพทย์จัดขึ้น ที่คูเวต ในปี 1995 กล่าวว่า: - ......
.................................
.....“วัสดุกวาดครีมและเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของไขมันสุกรไม่ได้รับอนุญาต ที่จะใช้วัสดุกวาดครีมและเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของไขมันสุกร(จากไขมันหรือโปรตีนของมัน) แต่เมื่อ ประสบผลสำเร็จในไขมันของการวิจัยไขมัน และกระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวของมันเองที่จะเปลี่ยนไปยังอื่น แต่เมื่อไม่รู้อย่างแน่นอนแล้วก็นั้นคือ นะยีส(สกปรก

https://www.facebook.com/uid.su/posts/881756851896442


แก้ไขล่าสุดโดย Profile เมื่อ Sat May 23, 2015 3:18 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

คอลลาเจน คืออะไร? Empty Re: คอลลาเจน คืออะไร?

ตั้งหัวข้อ by Profile Thu May 14, 2015 11:54 am

คำตอบที่ดีที่สุด:  ผมว่าแฟชั่น กินอาหารเสริม โคล่าเจ่น มาจากญี่ปุ่นใช่ไมย เห็นที่นี่เค้าฮิตมาหลายปีแล้ว 

หมอที่นี่ก็เคยออกทีวีว่า โคลาเจ่นสกัดนี่ ร่างกายย่อยลำบาก เอาไปใช้งานไม่ค่อยได้ด้วย 
แต่คนก็ยังซื้อกินกัน เพราะ บริษัทที่ทำเค้าเอาดารา แก่ แต่ไม่เหียว ทั้งหลายมาโหมโรงโกหกกัน คงเหมือนสมัยก่อนคนไทย บ้ากินนมผึ้งกันมั้ง 
น้องที่รู้จักก็เคยกิน ไม่เห็นดีขึ้นเลย แพงอีกต่างหาก เลิกกินไปละ 

จริงๆแล้วมันก็คือไขมัน แถมวิธีสกัดเอาออกมา ถ้าไม่สอาด คุณก็เสียงที่จะจ่ายตังแพง ซื้อยาพิษมากินซะอีก 

กินอาหาร ตามหมอแนนำสำหรับโรงนั้นๆ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และสำหม่ำเสมอ น่าจะช่วยได้จริง

  · 7 ปีที่ผ่านมา

3
ยกนิ้วขึ้น

 
0
ยกนิ้วลง

ความคิดเห็น
รายงานการใช้ในทางที่ผิด

  • [img(44.996997117996216px,44.996997117996216px)]https://s.yimg.com/wv/images/bfc42b34787e563431de77201598a79d_96.jpeg[/img]
    ตัดตอนบางส่วน ลองอ่านดูนะครับ 

    ๒. ผลของ สารอาหาร หรือ สารเคมี (ยา) ในร่างกายมนุษย์ มันไม่ได้ตรงไปตรงมา เหมือนกันทุกคน โรคเดียวกัน บางคนกินยาแบบนี้เบา แต่อีกคน กินแล้วไม่เบา .. 

    ๓. ผลของ สารอาหาร หรือ สารเคมี (ยา) ในร่างกายมนุษย์ ถ้าจะได้ผลก็ต้องมีปริมาณที่เหมาะสมด้วย ถ้ามีปริมาณน้อยเกินไป ก็ไม่ได้ประโยชน์ ในอาหารเสริมบางยี่ห้อ บอกมีสารโน้น สารนี้ สาระพัด เยอะแยะไปหมด แต่ว่า มีปริมาณน้อยมาก ซึ่งกินไปก็ไม่พอ ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย .. 

    ๔. การโฆษณา หรือ ข้อมูลจากฉลากต่าง ๆ ก็ต้องชั่งใจไว้หน่อยว่า " ควรจะเชื่อ หรือไม่ ? " เพราะส่วนใหญ่ ก็จะบอกกว้าง ๆ (เกินจริง) เช่น ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันดีขึ้น ช่วยทำให้ตับทำงานดีขึ้น ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ฯลฯ 

    สังเกต ว่า มักจะใช้คำว่า " ช่วย " หรือ " เสริม " ไม่ระบุชัดเจน ไม่ได้รับรองว่า จริง ตามนั้น ถ้าไม่ได้ผล เขาก็จะบอกว่า ก็เข้าไปช่วย เข้าไปเสริม เท่านั้นไม่ได้บอกว่า หาย ... กลายเป็นว่า คนซื้อ เข้าใจผิดไปเอง เป็นความผิดของคนซื้อ ซะงั้น ... 


    ๕. อะไรที่เรารู้สึกว่า "ไม่น่าเชื่อ ไม่น่าเป็นไปได้ " ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่า " ไม่จริง " 



    แหล่งข้อมูล:http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-08-2008&group=7&gblog=4
    หมอหมู · 7 ปีที่ผ่านมา
    3
    ยกนิ้วขึ้น

     
    0
    ยกนิ้วลง

    ความคิดเห็น


    รายงานการใช้ในทางที่ผิด
  • [img(44.996997117996216px,44.996997117996216px)]https://s.yimg.com/wv/images/e91e20b5a229d47b2b77fd33ec081b43_96.jpeg[/img]
    คอลลาเจนคือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ใต้ชั้นหนังแท้ โปรตีนแห่งความงามที่ว่านี้ มีชื่อเรียกว่า คอลลาเจนโปรตีน เป็นโปรตีนสำคัญของผิวหนัง เพราะเป็นส่วนสปริงของผิวหนัง ในการสร้างความตึงให้กับผิวหนังชั้นหนังแท้ หากอยากลองสัมผัสความตึงของคอลลาเจนโปรตีน ลองจับแก้มเด็กตัวเล็ก ๆ ดู จะสัมผัสได้ทันที ถึงความใส ตึง ที่ผิวแก้ม หรือ ดูเด็กวัยรุ่นที่กำลังแตกเนื้อหนุ่มสาว จะเห็นว่าผิวพรรณตึงเปรี๊ยะทีเดียว ปัจจุบันนี้จะมีการพูดถึง คอลลาเจน กันอย่างกว้างขวางในวงการเครื่องสำอาง และ ความงาม เป็นภาษากรีก 

    คอลลาเจน เป็นภาษากรีก แปลว่า กาว ทำหน้าที่เป็นกาวเชื่อมเซลล์แต่ล่ะเซลล์เข้าด้วยกัน คอลลาเจนโปรตีนมีปริมาณมากถึง 1 ใน 3 ของโปรตีนในร่างกาย คอลลาเจนใต้ผิวหนังของเรา จะอยู่ในผิวหนังชั้นหนังแท้ คอลลาเจนทำหน้าที่เสริมความเรียบตึงของผิวหนัง ทำให้ผิวแข็งแรง และเรียบเนียน และอยู่คู่กับโปรตีนที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ "อิลาสติน" ในขณะที่คอลลาเจนมีหน้าที่เสมือนโครงสร้างของผิว และทำให้ผิวเต่งตึง อิลาสตินจะมีหน้าที่สร้างความยืดหยุ่นให้กับผิว และทำให้ผิวไม่มีริ้วรอย 

    น่าเสียดายที่ภายหลังอายุ 20 ปี คอลลาเจนโปรตีนจะเสื่อมสภาพลง ทำให้ชั้นผิวหนังมีการยุบตัวลง ต้นเหตุของความเหี่ยวย่น ริ้วรอย และความชราของผิวพรรณ ริ้วรอยแรกจะเป็นรอยตีนกา เพราะผิวหนังรอบดวงตา มีความบอบบางมาก อีกทั้งกล้ามเนื้อรอบดวงตาก็เป็นกล้ามเนื้อวงกลม ไม่มีอะไรยึด ผิวรอบดวงตาก็เลยจะเหี่ยวง่ายกว่าที่อื่น การรับประทานคอลลาเจนโปรตีน จะช่วยชะลอความเหี่ยวตรงนี้ และลดริ้วรอยที่เกิดขึ้นแล้วได้ คอลลาเจนมีคุณสมบัติ ทำให้กล้ามเนื้อกระชับไม่หย่อนยาน ผิวหนังไม่เหี่ยวย่น อีกทั้งยังบำรุงเล็บ และเส้นผมให้มีสุขภาพดีอีกด้วย 

    การเสริมสร้างคอลลาเจนด้วยการรับประทาน 

    มีการนำสารสกัดโปรตีนจากปลาทะเลบางประเภท ซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกับโครงสร้างของคอลลาเจนของผิวคน โดยวิธีการ (Enzymatic Hydrolysis) ,มาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แล้วพบว่าภายหลังการรับประทานไประยะหนึ่ง จะสามารถช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน และช่วยให้ริ้วรอยต่าง ๆ จางหาย การนำสารสกัดโปรตีนคอลลาเจน เข้าสู่ร่างกายเพื่อผลในการบำรุงผิว และลดริ้วรอยนั้น ปกติทำได้ 2 วิธีคือ โดยการรับประทานในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ โดนการฉีดเข้าใต้ผิวหนังชั้นหนังแท้ วิธีการรับประทานจึงเป็นวิธีการที่สะดวกกว่า ผลที่ได้รับจากการบริโภคคอลลาเจนอย่างต่อเนื่อง จะช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ลดริ้วรอยเหี่ยวย่นของผิวหนังอย่างได้ผล และทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น นุ่มเนียนขึ้น 

    คอลลาเจนโปรตีน เป็นโปรตีนที่มีโครงสร้างโมเลกุลใหญ่มาก ดังนั้นคอลลาเจนไม่สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ด้วยการทา ส่วนครีมต่าง ๆ ที่มีขายตามท้องตลาด ที่มีส่วนผสมของคอลลาเจน ก็จะเป็นการผลักคอลลาเจนให้อยู่ได้แค่ชั้นหนังกำพร้า แต่เนื่องจากคอลลาเจนมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ประมาณ 30 เท่าของน้ำหนักตัวมัน ทำให้ผิวหนังกำพร้าชุ่มชื้นขึ้น แต่ไม่สามรถแก้ไขปัญหาริ้วรอยได้อย่างแท้จริง เพราะการเสริมสร้างคอลลาเจน จะต้องเข้าสู่ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และการรับประทานเท่านั้น 

    การใช้คอลลาเจน 

    ระยะเวลาเห็นผล 30 - 60 วัน 
    ริ้วรอยตื้นขึ้น 50% 
    ผิวที่หย่อนยานกระชับขึ้น 60% 
    ผิวชุ่มชื้นมากขึ้น 45% 
    ผม และ เล็บ แข็งแรง และ หนาขึ้น 

    จากเว็บ: http://brandname4u.is.in.th/?md=content&ma=show&id=2 


    มีอีกเว็บที่น่าสนใจ** เรียนรู้เรื่อง "คอลลาเจน" 
    จากเว็บ: http://women.sanook.com/beauty/skincare/aging_12568.php 

    การเพิ่มคอลลาเจนก็มีหลากหลายวิธี ดังนี้ 

    1. การเติมคอลลาเจน และอีลาสตินที่ขาดหายไปจากเซลล์ผิว ตามธรรมชาติแล้ว 
    2. การรับประทานอาหารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ 
    3. การรักษาความชุ่มชื้นให้กับเซลล์ผิว

    Love Love · 7 ปีที่ผ่านมา
    2
    ยกนิ้วขึ้น

     
    0
    ยกนิ้วลง

    ความคิดเห็น


    รายงานการใช้ในทางที่ผิด
  • [img(44.996997117996216px,44.996997117996216px)]https://s.yimg.com/dg/users/1DTCmqCv0AAEB_CFVBJ5oGW8B.medium.jpg[/img]
    1. collagen เป็นเส้นใยโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีอยู่ที่ผิวหนัง การที่รับประทานอาหารเสริม collagen เข้าไป ไม่มีส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณ collagen ที่ผิวหนัง เพราะว่า เมื่อ collagen ถูกย่อยที่กระเพาะอาหารจะกลายเป็นกรดอะมิโนและเปปไทด์สายสั้นๆ และกลายเป็นกรดอะมิโนทั้งหมดในกระบวนการย่อยที่ลำไส้เล็กและถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กเช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าคุณกินไก่ทอด หรือ อาหารเสริม collagen มันก็กลายเป็นกรดอะมิโนเหมือนกัน 

    2. วิตามินบางชนิดมีส่วนช่วยในการเสริมสร้าง collagen และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันไ้ด้ เช่น Vit C

    OHMYG · 7 ปีที่ผ่านมา
    1
    ยกนิ้วขึ้น

     
    0
    ยกนิ้วลง

    ความคิดเห็น


    รายงานการใช้ในทางที่ผิด
  • [img(44.996997117996216px,44.996997117996216px)]https://s.yimg.com/dg/users/1g2z112eFAAEBSyObkM9TvJAB.medium.jpg[/img]
    ไม่จริง ไม่ได้ผลอะไรหรอก ในเครื่องดื่มพวกนั้นมีคอลลาเจนอยู่แค่ ไม่กี่มิลกรัมเอง คอลลาเจนมีตั้งหลายชนิดครับ 
    แต่ร่างกายของเราทุกส่วนมีส่วนประกอบของคอลลาเจนทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อ อวัยวะภายใน ผิวหนัง หลอดเลือด แม้กระทั่งกระดูกก็ยังมี 
    แล้วจะต้องกินปริมาณเท่าไหร่ถึงจะออกมาบำรุงผิว แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าที่กินเข้าไปแล้วไม่ได้ไปเสริมสร้างส่วนอื่นๆ ด้วย จะมาที่ผิวหนังอย่างเดียวครับ 
    จริงอยู่ว่าคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบของผิวหนังซึ่งจะมีการสูญเสียและเสื่อมสภาพเมื่ออายุมากขึ้น แต่โฆษณาเค้าก็ไม่ได้บอกนะว่ามันก็เป็นส่วนประกอบของส่วนอื่นๆ อีก แต่เอาคุณสมบัติข้อหนึ่งมาอ้างเพื่อใช้ในการโฆษณาเท่านั้นเองครับ จะได้ผลอย่างที่หวังหรือไม่ก็ต้องพิสูจน์เอง แต่อย่างน้อยก็คงดีกว่าไม่กินกระมังครับ 

    Collagen type I 
    i)The fibers have diameter between 80 to 160nm. 
    ii)Found in bone, skin, tendon, muscles and walls of blood vessels. 

    Collagen type II 
    i)have a diameter <80nm 
    ii)found in invertiberal discs and hyaline cartilage. 


    Collagen type III 
    i)Found in spleen, muscle, and aorta. 

    Collagen type IV 
    Found around different types of in the basement membranes and muscles. 

    Collagen type V 
    It is found in embryonic cell cultures and the basement membranes. 

    Collagen type VI 
    It is found in muscle and skin. 

    อันนี้แปลให้ 
    ชนิดที่ 1 เส้นผ่าศูนย์กลาง 80 - 160 นาโนเมตร พบในกระดูก ผิวหนัง เส้นเอ็นกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ และผนังหลอดเลือด 
    ชนิดที่ 2 เล็กกว่า 80 นาโนเมตร พบในหมอนรองกระดูก และกระดูกอ่อน 
    ชนิดที่ 3 พบในม้าม กล้ามเนื้อ และหลอดเลือดแดงเอออต้า 
    ชนิดที่ 4 ในเยื่อหุ้มเซลล์ และกล้ามเนื้อ 
    ชนิดที่ 5 พบในเซลล์ที่ใช้สร้างไข่ของหญิงและเยื่อเซลล์ 
    ชนิดที่ 6 ในกล้ามเนื้อและผิวหนัง

    แหล่งข้อมูล:http://labs.ansci.uiuc.edu/meatscience/Library/collagen.htm
    Devilmaycry · 7 ปีที่ผ่านมา
    0
    ยกนิ้วขึ้น

     
    0
    ยกนิ้วลง
  • https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20081105205651AAakO5q
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

คอลลาเจน คืออะไร? Empty Re: คอลลาเจน คืออะไร?

ตั้งหัวข้อ by Profile Wed May 20, 2015 2:07 pm

อิสติฮาละตุ้ลอัยนฺ คือ การเปลี่ยนสภาพของสิ่งต่างๆ
 
คอลลาเจน คืออะไร? 1-641-300x225


ปัญหาเรื่อง ยาและอาหารที่มีส่วนประกอบที่ได้จากสัตว์ที่นะญิส เช่น สัตว์ตาย(ที่ไม่ได้ถูกเชือดตามหลักการอิสลาม), สุกร, สุรา ฯลฯ ที่ได้เปลี่ยนสภาพแล้วและถือว่าสะอาดสามารถบริโภคได้นั้น บรรดาปราชญ์มุสลิม(อุละมาอฺ)ได้วิเคราะห์กันมานานแล้ว และมีระบุในตำรานิติศาสตร์อิสลามโดยหลายมัซฮับ แต่ก่อนที่จะนำทัศนะต่างๆ มาเสนอ ขอกล่าวถึงตัวบทหลักฐานที่เป็นต้นเหตุให้นักปราชญ์อิสลาม(อุละมาอฺ)ได้วินิจฉัยประเด็นและใช้ในการเปรียบเทียบเรื่องอื่นๆ ด้วย
 
ซึ่งหลักฐานที่ชัดเจนคือการบันทึกของท่านอิมามบุคอรียฺว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยอิวะซัลลัม กล่าวว่า نعم الإدام الخل  (นิอฺมัลอิดามุลค็อลลุ) ซึ่งมีใจความว่า "น้ำส้มสายชูนั้นย่อมเป็นอาหารดีที่น่ารับประทาน (คืออาหารที่ใช้จิ้มกับขนมปัง)"
 
ซึ่งน้ำส้มสายชูนั้นเป็นที่รู้กันว่ามาจากการหมักน้ำผลไม้หรือพืช และการหมักน้ำผลไม้หรือพืชนั้นจะต้องผ่านขั้นตอนของการเป็นสุรา ถ้าดื่มก็จะมึนเมา แต่ถ้าหมักต่อไปก็จะกลายเป็นน้ำส้มสายชู เรื่องนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็รับทราบ จึงสั่งให้ทำน้ำส้มสายชูโดยหมักน้ำผลไม้และพืชจนกระทั่งได้น้ำส้มสายชูอย่างเดียว ส่วนกรณีที่หมักน้ำพืช(ผลไม้)จนกระทั่งได้สุราแล้วนำไปหมักต่อเพื่อให้เป็นน้ำส้มสายชูนั้น ท่านนบีไม่อนุญาต (บันทึกโดยอิมามมุสลิม)  แสดงว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รู้ว่าน้ำส้มสายชูนั้นจะต้องผ่านขั้นตอนเป็นเหล้า แต่ท่านให้การหมักน้ำพืช(ผลไม้) โดยไม่ได้ตั้งเจตนาว่าให้เป็นเหล้า หรือไม่ให้นำน้ำสุรามาหมักเป็นน้ำส้มสายชู และสุรานั้นตามหลักการศาสนาให้ทำลายหรือเททิ้งเท่านั้น
 
การอนุมัติให้บริโภคน้ำส้มสายชูคือการยอมรับในเรื่องของการเปลี่ยนสภาพของวัตถุต่างๆ โดยปริยาย แต่ปราชญ์มุสลิมได้นำตัวบทเรื่องนี้ไปเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์อาหารอื่นนอกเหนือจากน้ำส้มสายชู โดยปราชญ์ที่เห็นด้วยในประเด็นนี้คือ มัซฮับฮะนะฟี, มัซฮับซอฮิรียะฮฺ, (ทัศนะที่มีชื่อเสียงมากกว่าคือ)มัซฮับมาลิกี, แต่สำหรับมัซฮับอิมามอะหมัดมีอยู่ 2 รายงาน ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในมัซฮับฮัมบะลียฺได้ชี้ขาดว่าอิสติฮาละฮฺนั้นมีผลในการเปลี่ยนสภาพหุกุ่ม, สำหรับมัซฮับชาฟิอีนั้นไม่เห็นด้วยในเรื่องอิสติฮาละฮฺ
 

และสำหรับน้ำส้มสายชูนั้น ในมัซฮับชาฟิอีมีทัศนะว่า การเปลี่ยนสภาพของน้ำส้มสายชูนั้นจะต้องเปลี่ยนสภาพโดยธรรมชาติ คือน้ำหมักนั้นมนุษย์จำต้องหลีกห่างจากการเปลี่ยนขั้นตอนโดยเด็ดขาด ดังนั้นน้ำส้มสายชูที่มัซฮับชาฟิอีอนุญาตให้บริโภคคือ น้ำส้มสายชูที่เปลี่ยนสภาพตัวเองด้วยตัวเอง หากมนุษย์ใส่เชือหรือวัตถุอย่างหนึ่งอย่างใดตกลงไปในน้ำหมักนั้นจนกลายเป็นน้ำส้มสายชู ในมัซฮับชาฟิอีจะถือว่าน้ำส้มสายชูนั้นมีนะญิส เพราะเชื้ออยู่ในน้ำหมักขณะเป็นสุรา จึงสัมผัสกับสุราที่เป็นนะญิสและมีนะญิสติดเชื้อไปด้วย ในตอนสุดท้ายที่เป็นน้ำส้มสายชูนั้นก็เท่ากับน้ำส้มสายชูนั้นได้สัมผัสมีส่วนของนะญาซะฮฺมาด้วย
 
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ กล่าวว่า สำหรับควันที่เกิดจากการเผาสิ่งที่เป็นนะญิส ขึ้นอยู่กับหลักการประการหนึ่งคือ วัตถุที่นะญิสและสกปรกนั้น ถ้าได้เปลี่ยนสภาพของมันเป็นสิ่งสะอาด เช่นเดียวกับสิ่งสะอาดทั่วๆไปหรือไม่ เฉกเช่นโรงเกลือ ถ้าในอ่างหรือนาเกลือ มีสัตว์ตายหรือสุกรตกลงไปในเกลือ และถูกลืมอยู่ในนั้นจนสลายกลายเป็นเกลือหรือเป็นเถ้า หรือกรณีอื่นๆ เช่นเดียวกันนี้  บรรดาผู้รู้มีความเห็นเป็น 2 ทัศนะ
 
ทัศนะที่ 1 สิ่งนะญิสนั้นจะไม่สะอาด ซึ่เงป็นทัศนะของมัซฮับชาฟิอี และเป็นหนึ่งในสองทัศนะของมัซฮับมาลิกี และเป็นทัศนะที่มีชื่อเสียงมากกว่าในมัซฮับฮัมบะลี
 
ทัศนะที่ 2 สิ่งนะญิสนั้นเมื่อเปลี่ยนสภาพจะกลายเป็นสิ่งสะอาด อันเป็นทัศนะของมัซฮับฮะนะฟี และหนึ่งในสองทัศนะของมัซฮับมาลิกีและฮัมบะลี และป็นทัศนะของซอฮิรียะฮฺ(กลุ่มที่ยึดเอาตัวบทหลักฐานตามสำนวนเท่านั้น ไม่ใช้หลักกิยาส)
 
อิมามอิบนุตัยมียะฮฺกล่าวต่อว่า นี่(ทัศนะที่ 2)คือทัศนะที่ถูกต้องที่ต้องชี้ขาดตามนั้น เพราะสิ่งที่เปลี่ยนสภาพแล้วนั้นไม่มีหลักฐานใดๆ โดยสำนวนหรือวัตถุประสงค์ที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยมัน เพราะฉะนั้นมันก็ไม่ใช่สิ่งหะรอมและไม่มีลักษณะคล้ายๆหะรอมด้วย ซึ่งไม่น่าจะฟัตวาว่ามันหะรอม และแท้จริงหลักฐานต่างๆ ที่อนุมัติให้บริโภคสิ่งดีๆ ต่างๆ นั้น ย่อมใกล้กว่า และควบคุมสิ่งที่เปลี่ยนแปลงสภาพตัวเองมากกว่า...
 
ดังนั้นสิ่งที่เปลี่ยนสภาพตัวเองถือว่าเป็น ฏ็อยยิบาต คือสิ่งดีๆ ที่บริโภคได้ และยังมีลักษณะของสิ่งที่มีเอกฉันท์ว่ามันฮาลาล ดังนั้นทั้งตัวบทและหลักกิยาส(คือการเปรียบเทียบ) ก็อยู่ข้างทัศนะที่ว่า สิ่งนะญิสที่เปลี่ยนสภาพตัวเองนั้นถือว่าฮาลาล
 
ท่านอิบนุตัยมียะฮฺระบุอีกว่า แท้จริงอัลลอฮฺทรงห้ามสิ่งโสโครกหรือนะญิสเพราะมันมีลัษณะของความเป็นนะญิสหรือโสโครก และพระองค์อนุญาตให้บริโภคสิ่งดีๆ เนื่องจากมีลักษณะแห่งความเป็นสิ่งดีๆ และสำหรับสิ่งนะญิสที่เปลี่ยนสภาพที่มีข้อถกเถียงอยู่นี้ มันไม่มีลักษณะของการเป็นนะญิสหรือสิ่งโสโครกแต่อย่างใด  แต่มันมีลักษณะความเป้นสิ่งดี คือฏ็อยยิบานั่นเอง (มัจญฺมูอฺฟะตะวา อิบนิตัยมียะฮฺ เล่ม 21 หน้า 70)
 
การวิเคราะห์ของท่านอิบนุตัยมียะฮฺนี้ ปราชญฺมุสลิมหลายท่านที่มีชื่อเสียงก็เห็นด้วยกับท่าน อาทิเช่น อัลเกาะรอฟี อัลมาลิกี, อิบนุเราะญับ อัลฮัมบะลี, อัซซุรกอนี อัลมาลิกี, อิบนิอาบิดีน อัลฮะนะฟี, อิบนุกุดามะฮฺ อัลฮัมบะลี, อัลบุนานี อัลมาลิกี

จากข้อวิเคราะห์ของท่านอิบนุตัยมียะฮฺดังกล่าว เราสามารถวินิจฉัยปัญหานี้ตามสภาพอุตสาหกรรมด้านอาหารและการบริโภคของมุสลิมได้ดังนี้
 

1. หลักการศาสนาให้มองสิ่งต่างๆ ตามสภาพของมัน โดยไม่ต้องมองถึงที่ไปที่มา
 เพราะมิฉะนั้นแล้วหลายสิ่งหลายอย่างที่มันสะอาดและศาสนาอนุโลมให้บริโภคจะกลายเป็นสิ่งที่ต้องห้าม และความลำบากความเดือดร้อนก็จะเกิดขึ้นกับผู้คนอย่างแน่นอน แต่อิสลามมิใช่ศาสนาแห่งการสร้างความลำบาก
 
2.  ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนสภาพของสิ่งนะญิสด้วยตัวมันเองหรือด้วยน้ำมือของมนุษย์ เพราะผลที่จะเกิดขึ้นก็เป็นอันเดียวกัน ดังนั้นอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่มีความสามารถเปลี่ยนวัตถุที่นะญิสจะเป็นอย่างไรก็ตาม ถือว่าสิ่งนะญิสที่เปลี่ยนสภาพแล้วนั้นอนุญาตให้บริโภคได้
 
3. จำต้องวิเคราะห์การเปลี่ยนสภาพของสิ่งนะญิส ว่าเปลี่ยนแบบไหนจึงจะถือว่าไม่นะญิสแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ปราชญ์มุสลิมก็ได้วิเคราะห์ไว้ว่า การเปลี่ยนสภาพของสิ่งนะญิสนั้นมิใช่เปลี่ยนลักษณะจากของแข็งเป็นของเหลว หรือจากวัตถุดิบเป็นวัตถุที่โดนไฟ แต่การเปลี่ยนสภาพจากสิ่งนะญิสไปเป็นสิ่งที่ไม่ใช่นะญิส คือการเปลี่ยนตัววัตถุทางโครงสร้างหรือส่วนประกอบของวัตถุนั้นๆ โดยถ้าเปลี่ยนแล้วก็ไม่สามารถใช้ชื่อเดิมได้ เช่น สัตว์ตาย (ที่ประกอบด้วยเนื้อ เลือด หนัง กระดูก) หากถูกเผาจนกลายเป็นเถ้า ก็ไม่สามารถเอาชื่อเดิม(สัตว์ตาย)มาใช้กับวัตถุนี้(เถ้า)ได้ เพราะมันเป็นคนละสภาพกัน, หรือน้ำส้มสายชูที่เคยผ่านขั้นตอนเป็นเหล้า เราไม่สามารถเรียกน้ำส้มสายชูว่าเป็นเหล้าได้ เพราะโครงสร้างของมันเปลี่ยนสภาพไปอย่างสิ้นเชิง
 

4. นักปราชญ์มุสลิมส่วนมากในทุกยุคทุกสมัยเห็นด้วยกับหลักการอิสติฮาละฮฺ
 และการใช้ชีวิตของสังคมมุสลิมทั่วโลกก็คุ้นเคยกับหลักการนี้ แม้กระทั่งในพื้นที่ที่ยึดในมัซฮับชาฟิอี(ซึ่งไม่เห็นด้วยกับหลักการอิสติฮาละฮฺ) เช่น แถบมลายู ก็จำต้องนำหลักการนี้มีใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การอนุโลมให้บริโภคน้ำส้มสายชูที่ผ่านอุตสาหกรรม เพราะน้ำส้มสายชูที่ผลิตในทางอุตสาหกรรมนั้นเป็นการเปลี่ยนสภาพด้วยการกระทำของมนุษย์อย่างชัดเจน แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอนุญาตให้บริโภค ซึ่งหน่วยงานรับรองฮาลาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ก็ให้การรับรองฮาลาลแก่น้ำส้มสายชูดังกล่าว ปัจจุบันนี้ผมไม่เคยพบใครที่เคร่งครัดในการเลือกรับประทานน้ำส้มสายชูที่เปลี่ยนสภาพด้วยตัวเองตามธรรมชาติเท่านั้น นอกจากบางคนเท่านั้นที่ยังเชือถือและปฏิบัติตามมัซฮับชาฟิอีและทำน้ำหมักเอง ซึ่งกระบวนการที่จะได้น้ำส้มสายชูแบบนี้ต้องใช้เวลานานพอสมควร และอุตสาหกรรมไม่สามารถรอคอยได้
 
5. เราต้องคำนึงถึงหลักการศาสนาที่อำนวยความสะดวกให้แก่วิถีชีวิตของมุสลิม โดยไม่บิดเบือนหรือเปลี่ยนแปลง หรือไม่บิดพริ้วกับตัวบทหลักฐาน และหลักการอิสติฮาละฮฺนี้นอกจากเป็นทัศนะของปราชญ์มุสลิมส่วนมากแล้ว ก็ยังมีหลักฐานตัวบทชัดเจนยืนยันไว้ด้วย
 
6. หลักการศาสนาเกี่ยวกับสิ่งบริโภคนั้นมีความชัดเจน จำต้องไม่ให้เรื่องผลประโยชน์ของบุคคลหรือสถาบันใดมาปิดบังหลักการ แต่ต้องคำนึงถึงความสะดวกของผู้ศรัทธา และสำคัญที่สุดก็คือหลักการศาสนาที่รองรับหลักการดังกล่าว  ดังนั้นผู้ที่จะให้คำชี้ขาดหรือมีน้ำหนักในข้อแนะนำหรือข้อปฏิบัติในเรื่องนี้คือปราชญ์มุสลิมที่เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหลักการศาสนาหามิใช่นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ที่จะมาวินิจฉัยและให้น้ำหนักกับทัศนะหนึ่งทัศนะใดได้
 
7. หลักการอิสติฮาละฮฺนี้ควรที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล(สถานะ)ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคมุสลิมสามารถพิจารณาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ไม่มีตราฮาลาลได้ในยามจำเป็นที่ต้องบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และหลักการอิสติฮาละฮฺยังช่วยให้อุตสาหกรรมขยายตัวได้ และเปิดตลาดผลิตภัณฑ์ที่สามารถได้รับการรับรองฮาลาล และอำนวยความสะดวกแก่พี่น้องมุสลิมด้วย
 
8. สมควรอย่างยิ่งที่จะมีการพูดคุยในเชิงวิชาการเกี่ยวกับหลักการอิสติฮาละฮฺ เพื่อแสวงหาข้อยุติในเชิงปฏิบัติ เพราะทุกวันนี้ดูเหมือนว่ามาตรฐานฮาลาลในประเทศมุสลิมต่างๆ นำหลักการนี้มาใช้บ้างไม่ใช้บ้าง อันจะส่งผลในเง่ลบต่อความน่าเชื่อถือของมาตรฐานฮาลาล
 http://www.halinst.psu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=274:istihalah&catid=3&Itemid=51&lang=en
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ