เว็บบอร์ด
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

การทำบุญให้คนตาย จะถึงคนตายไหม

Go down

การทำบุญให้คนตาย จะถึงคนตายไหม Empty การทำบุญให้คนตาย จะถึงคนตายไหม

ตั้งหัวข้อ by Profile Mon Aug 24, 2015 7:22 pm

การทำบุญให้คนตาย จะถึงคนตายไหม ?
 
 
 
 
การทำบุญให้คนตาย จะถึงคนตายไหม ?
 
เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวคลี่คลายลงไปในทางที่ดี
 
จึงขอนำปัญหาดังกล่าว มาตีแผ่ให้เห็น
 
ถึงแนวทรรศนะต่างๆของนักวิชาการที่มีต่อปัญหาดังกล่าว
 
ทำบุญถึงคนตาย
 
 
 
          ปัญหาหนึ่งที่อยู่ในความสนใจของประชาชนมาเป็นเวลานานแล้ว และยังคงเป็นปัญหา
 
คาใจของใครบางคนอยู่ก็คือ การทำบุญให้คนตาย จะถึงคนตายไหม ? อ่านอัลกุรอาน ให้คน
 
ตายได้ไหม และอีกมากมายหลายคำถามที่เกี่ยวข้องกัน  เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวคลี่คลายลงไป
 
ในทางที่ดี ในทางที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจและสร้างสรรค์ จึงขอนำปัญหาดังกล่าว มาตีแผ่ให้
 
เห็นถึงแนวทรรศนะต่างๆของนักวิชาการที่มีต่อปัญหาดังกล่าวว่าสำนักใดมีทรรศนะว่าอย่างไร
 
 
 
      รู้แล้วจะได้เกิดความสบายใจไม่ต้องมาถกเถียงกันให้เสียเวลา เพื่อจะได้มีเวลาเหลือไปทำ
 
ความดีอย่างอื่น การนำเสนอปัญญานี้ไม่ได้มีเจตนาจะใช้เป็นเครื่องมือทิ่มตำฝ่ายใด เพียงแต่มี
 
เจตนาเผยแพร่ข้อมูลในปัญหานี้เท่านั้น.
 
 
 
อิบาดะห์ประเภทต่าง ๆ
 
 
 
          อิบาดะห์ที่ศาสนาใช้ให้มุสลิมปฏิบัตินั้นจำแนกออกได้เป็นสามประเภทกล่าวคือ :
 
 
 อิบาดะห์ที่เกี่ยวกับร่างกายเพียงอย่างเดียว  เช่นละหมาด การถือศีลอด การเอียะอ์ติกาฟ การอ่านอัลกุรอาน และการซิกรุ้ลเลาะห์
 
 
 อิบาดะห์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว เช่นซะกาต และซอดาเกาะห์
 
 
 
 
 อิบาดะห์ ที่ผสมกันทั้งร่างกายและทรัพย์สินคือฮัจญ์ (ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินคือเสบียง
 
 และ ยานพาหนะ ในส่วนที่เกี่ยวกับร่างกายก็คือ การวุกูฟ การตอวาฟ การสะแอ และการ
 
ขว้างเสาหิน) เป็นต้น
 
 
 
 
 
 
แนวทางของมัซฮับต่างๆ
 
มัซฮับฮานาฟีและอัมบาลี
 
อนุญาตให้ยกผลบุญของอะมั้ล(ความดี)ที่ตนทำให้แก่ผู้อื่นได้ โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ไม่ว่า
 
จะเป็นอิบาดะห์ที่เกี่ยวกับร่างกาย หรือเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือผสมกันระหว่างร่างกายกับ
 
ทรัพย์สิน.
 
 
 
          มีระบุในตำราของมัซฮับฮานาฟี (เช่นอัซซัยละอีย์, อัลบะฮร์, อัลฮิดายะห์ และฟัตฮุ้ลกอ
 
ดีร) ว่าคนที่ทำอิบาดะห์ ไม่ว่าจะเป็นละหมาด การถือศีลอด   การจ่ายซะกาต การอ่านอัลกุรอาน
 
การซิกรุ้ลเลาะห์
 
 
 
          การตอวาฟ ทำพิธีฮัจญ์ ทำพิธีอุมเราะห์ หรือความดีอย่างอื่น อนุญาตให้เขายกผลบุญ
 
ของอิบาดะห์เหล่านั้นให้แก่ผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีชีวิตอยู่หรือล่วงลับไปแล้วก็ตาม และผล
 
บุญของการทำอิบาดะห์นั้นก็จะถึงผู้ที่ถูกยกให้ และไม่มีข้อแตกต่างกันระหว่างคนที่ตั้งเจตนา
 
(เนียต)ขณะทำความดีนั้นว่าทำให้แก่ผู้อื่นหรือทำเพื่อตัวเอง แล้วหลังจากนั้นจึงยกผลบุญให้แก่
 
ผู้อื่น..
 
 
 
          ระบุอยู่ในตำรา อัลมุฆนีย์ ของอิบนุกุดามะห์ ของ มัซฮับฮัมบะลีว่า  ความดีใดๆ ที่มนุษย์
 
ได้กระทำ และยกผลบุญของการกระทำนั้นให้แก่ผู้ตายที่เป็นมุสลิม  การกระทำดังกล่าวนั้นเป็น
 
ประโยชย์แก่ผู้ตายด้วยพระประสงค์ของอัลเลาะห์ ตาอาลา.. อิบนุ้ลกอยยิม นักวิชาการ
 
ของมัซฮับฮัมบาลี     ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านชื่ออัรรูฮ์ว่า : ( สิ่งประเสริฐที่สุดที่จะยก
 
ให้แก่ผู้ตายก็คือ   การทำซอดาเกาะห์  การขออภัยโทษ(อิสติฆฟาร) และการขอดุอาอ์ให้แก่
 
ผู้ตาย  และการทำฮัจญ์แทนให้ผู้ตาย  ส่วนการอ่านอัลกุรอานและยกผลบุญการอ่านนั้นให้แก่
 
ผู้ตายโดยสมัครใจไม่มีค่าจ้างตอบแทน การกระทำนี้ผลบุญจะไปถึงผู้ตาย เช่นเดียวกับผลบุญ
 
ของการถือศีลอดและฮัจญ์ก็จะไปถึงผู้ตาย) ….
 
 
 
 
 
 
 
 
 
มัซฮับชาฟิอีและมาลิกี :
 
          ส่วนมัซฮับชาฟิอีและมาลิกีนั้นทรรศนะที่แพร่หลายของพวกเขามีว่า อิบาดะห์ที่เกี่ยวกับ
 
ร่างกายอย่างเดียวเช่นละหมาด การถือศีลอด และการอ่านอัลกุรอาน ผลบุญของอิบาดะห์นี้จะ
 
ไม่ถึงผู้ตาย  ต่างกับอิบาดะห์อื่นๆ เช่นอิบาดะห์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินอย่างเดียว เช่นซะกาตและ
 
การทำซอดาเกาะห์ หรืออิบาดะห์ที่ผสมกันระหว่างร่างกายกับทรัพย์สินเช่นฮัจญ์ ผลบุญของ
 
อิบาดะห์ประเภทนี้จะถึงผู้ตาย.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นักวิชาการยุคหลัง
 
ของมัซฮับชาฟิอีและมาลิกี
 
แต่นักวิชาการยุคหลังของทั้งสองมัซฮับ ได้เลือกเอาแนวทางที่ว่า ผลบุญของอิบาดะห์
 
ทุกชนิดจะไปถึงผู้ตาย เช่นการอ่านอัลกุรอานเป็นต้น, ประโยชน์ของการอ่านอัลกุรอาน
 
อาจเกิดจากผลบุญของการอ่านอัลกุรอานไปถึงผู้ตาย หรือบะรอกะห์(ความดีที่เพิ่มพูน)
 
ของการอ่านไปถึง.
 
 
 
          ส่วนพวกมัวะอ์ตะซิละห์ (พวกที่มีความคิดนอกรีตในศาสนาอิสลาม) มีทรรศนะว่า ไม่
 
ยินยอมให้ใครยกผลบุญจากการทำ (อะมั้ล) ความดีของตนให้แก่ผู้อื่นโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ไม่ว่า
 
จะเป็นอิบาดะห์ที่เกี่ยวกับร่างกายหรือทรัพย์สินหรือที่ผสมกันจากร่างกายและทรัพย์สิน. มัซฮับ
 
มัวะอ์ตะซิละห์  มีทรรศนะที่ต่างกับมัซฮับฮานาฟี และต่างกับกลุ่มที่มีทรรศนะตรงกับมัซฮับ
 
ฮานาฟี ที่เป็นอะห์ลิซซุนนะห์.
 
 
 
หลักฐานของพวกมัวะอ์ตะซิละห์ :
 
 
 
          พวกมัวะอ์ตะซิละห์  อ้างหลักฐานเรื่องนี้ด้วยคำดำรัสของอัลเลาะห์ตาอาลาที่ว่า :
 
 
 
 
 
" มนุษย์จะไม่ได้รับอะไร นอกจากสิ่งที่เขาได้ทำไว้เท่านั้น "
 
 
 
พวกมัวะอ์ตะซิละห์ได้กล่าวในการใช้อายะห์นี้มาอ้างเป็นหลักฐานว่า : อัลเลาะห์ ผู้ทรง
 
ยิ่งใหญ่และเกรียงไกร ได้บอกไว้ในอายะห์นี้ว่า มนุษย์จะไม่ได้รับอะไรนอกจากสิ่งที่เขา
 
ได้พากเพียรเอาไว้และเป็นผลงานของเขา ส่วนการพากเพียรของผู้อื่น ไม่ใช่เป็นการ
 
พากเพียรและผลงานของเขา.
 
 
 
 
 
 
 
การโต้ตอบกับพวกมัวะอ์ตะซิละห์ด้วยหลักฐาน :
 
 พวกมัวะอ์ตะซิละห์ ถูกโต้ตอบด้วยข้อความที่ท่านกามาล บุตร ฮัมมาม กล่าวไว้ใน

 
หนังสือของเขาชื่อฟัตฮุ้ลกอดีร (ในบทที่ว่าด้วยเรื่องการทำฮัจญ์แทนให้แก่ผู้อื่น) ว่า :
 
 
 
ความหมายของอายะห์ที่ว่า " มนุษย์จะไม่ได้รับอะไรนอกจากสิ่งที่เขาได้ทำไว้เท่านั้น "
 
หมายถึง " ในกรณีที่ผู้ทำความดีไม่ได้ยกผลบุญให้แก่ผู้อื่น " แต่ถ้าหากเขาทำความดี
 
แล้วเขาได้ยกความดีนั้นให้แก่ผู้อื่น  ความดีนั้นก็จะไปถึงผู้ที่เขายกให้ ทั้งนี้เพราะมี
 
ฮะดีษซอเฮียะฮ์ที่รายงานโดยบุคอรีและมุสลิมว่า:
 
 
 
 
 
ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล) ได้เชือดแกะสองตัวที่มีสีขาวมีขนดำแซม เป็นอุดฮียะห์
 
(กุรบาน) โดยตัวหนึ่งท่านทำเพื่อตัวท่านเอง อีกตัวหนึ่งท่านทำแทนให้แก่
 
ประชาชาติของท่าน ..
 
 
 
ฮะดีษนี้ท่านนบีได้ทำความดีแทนให้แก่ประชาชาติของท่าน การกระทำของท่านนบีชี้ว่า
 
สามารถยกความดีให้แก่ผู้อื่นได้.
 
 
 
ฮะดีษนี้มีซอฮาบะห์หลายท่านได้รายงานและมีนักวิชาการฮะดีษได้นำออกเผยแพร่
 
หลายสาย และทุกสายรายงานก็จะมีข้อความตรงกันว่า ท่านนบี(ซ.ล) ได้เชือดสัตว์อุดฮียะห์
 
(กุรบาน) แทนให้แก่ประชาชาติของท่าน จนข้อความนี้เป็นที่แพร่หลายและรู้กันทั่วไป และ
 
สามารถที่จะนำไปเป็นเงื่อนไขของอายะห์ที่กล่าวมาแล้วได้. นอกจากนั้นก็ยังมีฮะดีษอีกหลาย
 
ฮะดีษที่ชี้ว่าเมื่อทำความดีแล้วสามารถยกให้แก่คนอื่นได้เช่นฮะดีษที่รายงานโดยดารุกุตนีว่า :
 
 
 
มีชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี (ซ.ล) แล้วถามขึ้นว่า : ฉันมีบิดามารดาที่ฉันได้เคย
 
ปรนนิบัติเขาทั้งสองขณะที่เขาทั้งสองมีชีวิตอยู่  แล้วฉันจะทำความดีให้แก่เขาทั้งสอง
 
ได้ไหมภายหลังจากเขาทั้งสองเสียชีวิตไปแล้ว ? ท่านนบี(ซ.ล) ได้ตอบเขาว่า :
 
 "แท้จริงการทำความดีให้แก่บิดามารดาภายหลังจากตายไปแล้วคือการที่ท่านละหมาด
 
ให้แก่เขาทั้งสองพร้อมกับการละหมาดของท่าน  และท่านถือศีลอดให้แก่เขาทั้งสอง
 
พร้อมกับการถือศีลอดของท่าน " ..
 
 
 
และฮะดีษที่ดารุกุตนีได้รายงานไว้อีกเช่นกันจากอิหม่ามอะลี (กัรร่อมั้ลลอฮุวัจฮะฮ์) จาก
 
ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล) ได้กล่าวว่า :
 
 
 
 
 
" ผู้ใดผ่านสุสานและเขาได้อ่าน "กุ้ลฮุวั้ลลอฮุอะฮัด" สิบเอ็ดจบ แล้วยกผลบุญ
 
การอ่านให้แก่คนตาย  เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับจำนวนคนตาย " ..
 
 
 
และฮะดีษที่รายงานจากท่านอะนัส บุตร มาลิก (ร.ด) ว่า :
 
 
 
 
 
 
 
" เขาได้ถามท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล)ว่า : โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ : พวกเราจะทำ
 
ทาน (ซอดาเกาะห์) แทนคนตายของพวกเราได้ไหม, และเราจะทำฮัจญ์แทนพวกเขา
 
และขอดุอาอ์ให้พวกเขาได้ไหม และผลบุญการทำเช่นนั้นจะไปถึงพวกเขาไหม ?
 
ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ตอบว่า : " ถูกแล้วมันจะไปถึงพวกเขา และความจริงพวกเขาจะดีใจ
 
กับสิ่งที่ได้รับ เหมือนที่คนใดจากพวกท่านดีใจที่มีผู้นำถาดอาหารมามอบให้แก่เขาเป็น
 
ของขวัญ " ..
 
 
 
และฮะดีษที่ว่า :
 
 
 
" ท่านทั้งหลายจงอ่านซูเราะห์ยาซีนให้แก่คนตายของพวกท่าน "   (รายงานโดย
 
อะบูดาวูด)
 
 
 
ตัวบทเหล่านี้แม้จะมีตัวบทหลากหลายแต่มีเนื้อหาตรงกันที่ว่า" ผู้ใดที่ยกความดีของตน
 
ให้แก่ผู้อื่น ผลบุญของมันก็จะไปถึงผู้ที่ถูกยกให้ และอัลเลาะห์ก็จะให้เขาได้รับประโยชน์
 
ด้วยความดีนั้น ".. ซึ่งเนื้อหาตรงจุดนี้ถึงขั้นเป็นมุตะวาติร (คือมีผู้รายงานมากในแต่ชั้น
 
ของสายรายงาน)
 
 
 
และในอัลกุรอานก็มีคำบัญชาจากอัลเลาะห์ให้ขอดุอาอ์แก่บิดามารดา ดังปรากฏในคำ
 
ดำรัสที่ว่า :
 
 
 
" และท่านจงกล่าวว่า ข้าแด่องค์อภิบาลของฉันได้โปรดเมตตาบิดามาดา
 
 เหมือนกับที่เขาทั้งสองได้ดูแลฉันมาตั้งแต่เยาวัย "
 
 
 
และอัลกุรอานยังได้บอกกล่าวถึงเรื่องที่มะลาอิกะห์วิงวอนขออภัยโทษให้แก่พวกที่มี
 
ศรัทธา ในคำดำรัสของอัลเลาะห์ ตาอาลาในซูเราะห์ ฆอฟิรว่า :
 
 
 
" บรรดามะลาอิกะห์ที่แบกอะรัช (บัลลังก์) ของอัลเลาะห์ และมะลาอิกะห์ที่อยู่
 
รายรอบ  อะรัชกล่าวถวายความบริสุธิ์ พร้อมด้วยสรรเสริญองค์อภิบาลของพวกเขา
 
 และศรัทธาต่อพระองค์ และพวกเขาวิงวอนขออภัยโทษให้แก่พวกที่มีศรัทธาว่า ข้าแด่
 
องค์อภิบาลของเราความเมตตาและความรู้ของพระองค์แผ่ไพศาลทั่วทุกสิ่ง ขอได้โปรด
 
อภัยโทษให้แก่พวกที่สำนึกผิด และปฏิบัติตามแนวทางของท่าน และโปรดปกป้องพวก
 
เขาให้พ้นจากการลงโทษในนรกที่ร้อนแรง ข้าแด่องค์อภิบาลของเรา และขอได้โปรดให้
 
พวกเขาได้เข้าสู่สวรรค์ อัดน์ ซึ่งท่านได้สัญญาไว้กับพวกเขา และแก่ผู้ที่มีคุณธรรมจาก
 
บรรพบุรุษของพวกเขา คู่ครองของพวกเขา และลูกหลานของพวกเขา แท้จริงท่านเป็น
 
ผู้ทรงเดชานุภาพ ทรงหยั่งรู้  และได้โปรดปกป้องพวกเขาให้พ้นจากความชั่วร้าย และ
 
ผู้ใดที่ท่านปกป้องเขาให้พ้นจากความชั่วร้ายในวันนั้น แน่นอนท่านก็ได้ให้ความเมตตา
 
แก่เขาแล้ว และนั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่ "  (ฆอฟิร : 7-9)
 
 
 
ในซูเราะห์ อัชชูรอ อัลเลาะห์ตาอาลาตรัสว่า :
 
 
 
" และมวลมะลาอิกะห์ จะกล่าวถวายความบริสุธิ์ พร้อมด้วยสรรเสริญองค์อภิบาล
 
ของพวกเขา และวิงวอนขออภัยโทษให้แก่ผู้ที่อยู่ในผืนแผ่นดิน พึงทราบเถิดว่า
 
แท้จริงอัลเลาะห์นั้นพระองค์ทรงอภัยยิ่งอีกทั้งทรงเมตตายิ่ง "
 
 
 
อายะห์เหล่านี้เป็นหลักฐานที่เด็ดขาดว่า มีการได้รับประโยชน์จากการกระทำของผู้อื่น
 
 ซึ่งขัดกับอายะห์ที่พวกมัวะอ์ตะซิละห์ได้ยกมาเป็นหลักฐาน หลังจากนั้นท่านกามาล บุตร
 
ฮัมมาม ยังได้กล่าวอีกว่า : การที่เราสามารถหักล้างทรรศนะของพวกมัวะอ์ตะซิละห์ลงได้ด้วย
 
หลักฐานที่นำมานั้น มันก็เท่ากับเป็นการปฏิเสธทรรศนะของชาฟิอีและมาลิกี (รอฮิมะฮุมั้ลลอฮ์)
 
ไปด้วยในที ซึ่งทรรศนะของอิหม่ามทั้งสองกล่าวว่า ความดีที่เกี่ยวกับร่างกายนั้นจะยกให้ผู้อื่น
 
ไม่ได้ เพราะมีหลัก ฐานจากฮะดีษต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วที่มีเนื้อความต้องกันว่าเมื่อทำความดี
 
แล้วสามารถยกให้แก่คนอื่นได้ ...
 
 
 
 
 
และพวกมัวะอ์ตะซิละห์ยังได้ยกฮะดีษมาเป็นหลักฐานสนับสนุนทรรศนะของพวกเขาที่ว่า
 
จะยกผลบุญของความดีที่ทำไว้ให้แก่ผู้อื่นไม่ได้ด้วยฮะดีษที่ว่า :
 
 
 
" เมื่อมนุษย์ที่เป็นลูกหลานของอาดัมเสียชีวิตลง การทำความดีของเขาก็ขาด
 
ตอนลง ยกเว้นสามประการคือ การอุทิศถาวรวัตถุไว้ (วะกัฟ), หรือวิชาการที่มี
 
ประโยชน์, หรือบุตรที่มีคุณธรรมวิงวอนขอดุอาอ์ให้เขา " ...
 
 
 
พวกมัวะอ์ตะซิละห์กล่าวในการอ้างหลักฐานของพวกเขาว่า : ท่านนบี (ซ.ล) บอกว่าคน
 
ตายจะได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เขาเป็นผู้ก่อไว้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ และสิ่งใดที่เขาไม่ได้
 
ก่อไว้ มันก็ขาดตอนไปจากเขา.
 
 
 
การโต้ตอบพวกมัวะอ์ตะซิละห์ ในการนำเอาหะดีษนี้มาเป็นหลักฐานก็คือ : ท่านนบี
 
 (ซ.ล) ไม่ได้กล่าวว่า : การรับประโยชน์ของคนตายขาดตอนลง, แต่ท่านกล่าวว่า : การทำ
 
ความดีของเขาขาดตอนลงส่วนการทำความดีของคนอื่น ก็ตกเป็นของผู้ที่กระทำ ดังนั้นถ้า
 
หากเขายกความดีนั้นให้แก่ผู้ตาย ผลบุญจากความดีของผู้ที่ทำก็จะไปถึงคนตาย ซึ่งมันไม่ใช่ผล
 
บุญจากการกระทำของคนตาย, สิ่งที่ขาดตอนนั้นคือการกระทำของคนตาย เพราะเมื่อเขาตาย
 
เขาจะทำความดีอะไรเองอีกไม่ได้แล้ว  ส่วนสิ่งที่ไปถึงคนตายนั้นคือผลบุญที่เกิดจากการกระทำ
 
ของคนอื่นที่ยกให้เขา.
 
 
 
 
 
สรุปเรื่องการทำความดีแล้วยกผลบุญให้แก่คนตาย มีสามมัซฮับ
 
 
 มัซฮับฮานาฟี, ฮัมบาลี และทรรศนะนักวิชาการของมัซฮับมาลิกีและชาฟิอีในยุค
 
หลังที่มีความเห็นเหมือนกับมัซฮับฮานาฟี และฮัมบาลีกล่าวว่า:
 
 
 
ผลบุญของความดีจากการกระทำของคนอื่นนั้นจะไปถึงคนตาย โดยไม่คำนึงว่าความดี
 
นั้นจะเป็นอิบาดะห์ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายอย่างเดียว หรือเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินอย่างเดียว หรือ
 
เป็นอิบาดะห์ที่ผสมกันระหว่างร่างกายและทรัพย์สิน.
 
 
 
2-      มัซฮับมัซฮับมัวะอ์ตะซิละห์ กล่าวว่า :
 
ผลบุญไม่ถึงคนตายไม่ว่าจะเป็นอิบาดะห์ประเภทใดก็ตาม.
 
 
 
3-   มัซฮับมาลิกีและซาฟิอี  ตามทรรศนะที่แพร่หลายของพวกเขา ที่แยกรายละเอียด
 
ในเรื่องอิบาดะห์ โดยกล่าวว่า :
 
 
 
ถ้าหากเป็นอิบาดะห์ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายอย่างเดียว ผลบุญของอิบาดะห์นั้นจะไม่ถึงคน
 
ตาย, แต่ถ้าหากอิบาดะห์นั้นเป็นประเภทที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว หรือเป็น
 
อิบาดะห์ที่ผสมกันระหว่างทรัพย์สินกับร่างกาย ผลบุญของอิบาดะห์ประเภทนี้จะไปถึงคนตาย.
 
 
 
ส่วนแนวทางที่มีน้ำหนักและถูกเลือกว่าเป็นทรรศนะที่ดีคือ มัซฮับที่หนึ่ง เพราะมี
 
หลักฐานที่มีน้ำหนักและแข็งแรงสนับสนุน .. และเป็นแนวทางที่ได้รับการปฏิบัติ
 
มาตั้งแต่ยุคของสะลัฟ(คือยุคของคนดีที่ท่านนบี (ซ.ล) รับรองไว้เป็นเวลาสามร้อยปี)
 
และได้ปฏิบัติมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้.
 
 
 
ข้อมูลจากหนังสือ: อัลฮะยาฮ์ อัลบัรซะคียะห์   ของมุฮำหมัด อับดุซซอฮิร คอลีฟะห์ โดย
 
เรียบเรียงให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น.
 
 
 
หารายละเอียดเพิ่มเติมได้อีกในหนังสือ อัลอะกีดะห์   อัตตอฮาวียะห์  ตั้งแต่หน้า  511
 
ถึงหน้า  518
 
http://www.miftahcairo.com/index.php/12-ramadon/31-2013-03-06-13-37-26
Profile
Profile
Admin

จำนวนข้อความ : 266
Join date : 25/07/2013

http://abcde555.blogspot.com/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ